บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ โดยใช้แนวคิดของ เคิร์ทแพทริค (Donald L. Kirkpatrick) สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ
1. เพื่อประเมินปฏิกิริยาการตอบสนองของผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์
2. เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการอบรม เชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนใน สังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์
3. เพื่อประเมินพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปหลังการอบรมโครงการอบรม เชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์
4. เพื่อประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อหน่วยงานจากการอบรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์
วิธีดำเนินการประเมินโครงการ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ มีการประเมิน 2 ระยะ จำนวน 4 ขั้นตอนดังนี้
ระยะก่อน/ขณะการฝึกอบรม
1. การประเมินปฏิกิริยาการตอบสนองของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
2. การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ระยะหลังการฝึกอบรม
3. การประเมินพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปหลังการอบรม
4. การประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อหน่วยงาน
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วยบุคคล จำนวน 2 กลุ่ม คือ
1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ประกอบด้วย พนักงานครู จำนวน 200 คน
2. ผู้บังคับบัญชาของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 8 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ จำนวน 15 คน
รวมกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินโครงการทั้งสิ้น จำนวน 223 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนา การจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ มีดังนี้
1. ฉบับที่ 1 แบบประเมินปฏิกิริยาตอบสนองของผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์
2. ฉบับที่ 2 แบบทดสอบวัดความรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์
3. ฉบับที่ 3 แบบประเมินทักษะของผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการอบรม เชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์
4. ฉบับที่ 4 แบบวัดความพึงพอใจของผู้เข้ารับฝึกอบรมโครงการอบรม เชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์
5. ฉบับที่ 5 แบบประเมินพฤติกรรมผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการอบรม เชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ สำหรับผู้บังคับบัญชา
6. ฉบับที่ 6 แบบประเมินพฤติกรรมผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการอบรม เชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ สำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
7. ฉบับที่ 7 แบบประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อหน่วยงานของผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ สำหรับผู้บังคับบัญชา
8. ฉบับที่ 8 แบบประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อหน่วยงานของผู้เข้ารับการฝึกอบรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ สำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินโครงการในแต่ละขั้นตอน ผู้ประเมินได้วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังการฝึกอบรมโดยใช้สถิติทดสอบ t-test แบบ Dependent
สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ โดยภาพรวม เรียงลำดับตามประเด็นการประเมินทั้ง 4 ด้าน สรุปได้ดังนี้
1. การประเมินปฏิกิริยาการตอบสนอง (Reaction Evaluation) อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. = 0.36) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. การประเมินผลการเรียนรู้ (Learning Evaluation)
2.1 ด้านความรู้ (Knowledge) ก่อนฝึกอบรม อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.94, S.D. = 1.23) ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน หลังฝึกอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D.= 0.82) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2.2 ด้านทักษะ (Skill) ก่อนฝึกอบรม อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.48, S.D.= 0.12)ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน หลังฝึกอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66, S.D.= 0.09) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2.3 ด้านทัศนคติ (Attitude) ก่อนฝึกอบรม อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.45, S.D. = 0.21) ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน หลังฝึกอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74, S.D.= 0.10) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. การประเมินพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป (Behavior Evaluation) ก่อนฝึกอบรม อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.25, S.D.= 1.11) ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน หลังฝึกอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.68, S.D.= 0.34) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. การประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อหน่วยงาน (Results Evaluation) ก่อนฝึกอบรมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.38, S.D. = 0.09) ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน หลังฝึกอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D.= 0.35) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ระดับเทศบาลนครนครสวรรค์ ควรนำข้อมูลสารสนเทศอันเป็นผลจากการประเมินมาประกอบการตัดสินใจ เพื่อกำหนดนโยบาย กำหนดยุทธศาสตร์ การสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงาน โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัด การเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์
1.2 ระดับสำนักการศึกษา เทศบาลนครนครสวรรค์
1.2.1 การประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการกาพัฒนา การจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ ในครั้งนี้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด ดังนั้น สำนักการศึกษา ควรนำผลการประเมินไปประกอบการตัดสินใจเพื่อการดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่องอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง
1.2.2 การประเมินโครงการในครั้งนี้ใช้แนวคิดของ เคิร์ทแพทริค (Donald L. Kirkpatrick) ซึ่งมีความเหมาะสมสำหรับการประเมินโครงการที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมเนื่องจากมีประเด็นการประเมินที่ครอบคลุม สำนักการศึกษาควรขยายโครงการไปสู่สถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ให้มีการใช้แนวคิดดังกล่าวสำหรับประเมินโครงการ
1.3 ระดับผู้บริหารองค์กรและผู้นำรูปแบบไปใช้ควรศึกษาการประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษ ที่ 21 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ ให้มีความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนและสามารถประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพความต้องการจำเป็น ตามบริบทขององค์กรและชุมชนเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินครั้งต่อไป
จากการประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ ทำให้ทราบถึงผลการดำเนินโครงการ ผู้ประเมินจึงมีข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์ยิ่งขึ้น ดังนี้
2.1 ควรมีการประเมินโครงการควบคู่กับการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงและต่อยอดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การตระหนักถึงความสำคัญ และการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
2.2 ควรสร้างและพัฒนานวัตกรรมด้านชุดฝึกอบรมเพื่อใช้เป็นเครื่องมือ และสื่อการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรฝึกอบรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์
2.3 ควรมีการประเมินหลักสูตรการฝึกอบรมอื่นๆ ของหน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครสวรรค์ เพื่อนำผลการประเมินที่ได้ไปพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับพนักงานครูสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์