บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม ชุดเศรษฐศาสตร์กับชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
ชื่อผู้ศึกษา นางวรรณา โบบทอง
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา
ปีที่วิจัย พ.ศ. 255๘
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบ การเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชุดเศรษฐศาสตร์กับชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชุดเศรษฐศาสตร์กับชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ที่มีต่อการเรียนจัดกิจกรรม
การเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชุดเศรษฐศาสตร์กับชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านกลาง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ปีการศึกษา 255๘ จำนวน ๑๘ คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) แบบแผนการศึกษา คือแบบ one- group pretest - posttest Design เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชุดเศรษฐศาสตร์กับชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ จำนวน ๘ เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 16 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบโดยค่าที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชุดเศรษฐศาสตร์กับชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ผู้ศึกษาพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.๑๒/82.๒๒ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชุดเศรษฐศาสตร์กับชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา มีมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชุดเศรษฐศาสตร์กับชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก