ชื่อผลงาน รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวการันต์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
ชื่อผู้ศึกษา กัลยา หนูคง
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านรับแพรก(คุรุราษฎร์สงเคราะห์)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๑
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่ศึกษา ๒๕๕๘
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวการันต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวการันต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวการันต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ก่อนเรียนกับ
หลังเรียน ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวการันต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนที่กำลังเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านรับแพรก(คุรุราษฎร์สงเคราะห์) อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๑
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ จำนวน ๒๐ คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวการันต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๔ เล่ม แผนการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ จำนวน ๑๖ แผน แผนละ ๑ ชั่วโมง รวม ๑๖ ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน ๓๐ ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจ
ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวการันต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๑๐ ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะ (E๑/E๒) แสะสถิติทดสอบค่า t (t-test)
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
๑. แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวการันต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๓.๖๓/๘๔.๑๗ สูงกว่าเกณฑ์
ที่กำหนดไว้
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
วิชาภาษาไทยหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวการันต์ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น
สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .๐๑
๓. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวการันต์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ ๔.๕๗ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ .๔๘ เมื่อเทียบกับเกณฑ์ภาพรวมความพึงพอใจ อยู่ในระดับ
มากที่สุด