ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางจิดาภา เอี่ยมนูญ
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) อำเภอเมือง จังหวัด
นครราชสีมา สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์ 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย (1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 46 คน คือ ห้อง ม.1/1 โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากห้องเรียนแต่ละห้องมีนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนเก่ง ปานกลาง อ่อน ใกล้เคียงกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคSTAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 13 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวมเวลาเรียน 13 ชั่วโมง ไม่นับแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ปฐมนิเทศทดสอบก่อนเรียน และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทดสอบหลังเรียนตอบแบบวัดความพึงพอใจ แบบทดสอบย่อยกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบปรนัย จำนวน 13 ฉบับ ประกอบด้วย ข้อสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวนฉบับละ 6 ข้อ แบบทดสอบย่อยฉบับที่ 1 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.38 ถึง 0.63 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 แบบทดสอบย่อยฉบับที่ 2 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.38 ถึง 0.68 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 แบบทดสอบย่อยฉบับที่ 3 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.67 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 แบบทดสอบย่อยฉบับที่ 4 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.36 ถึง 0.64 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 แบบทดสอบย่อยฉบับที่ 5 มี ค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.70 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 แบบทดสอบย่อยฉบับที่ 6 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.57 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 แบบทดสอบย่อยฉบับที่ 7 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.70 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 แบบทดสอบย่อยฉบับที่ 8 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.68 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 แบบทดสอบย่อยฉบับที่ 9 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.59 ถึง 0.79 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 แบบทดสอบย่อยฉบับที่ 10 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.71 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 แบบทดสอบย่อยฉบับที่ 11 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.31 ถึง 0.67 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 แบบทดสอบย่อยฉบับที่ 12 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.29 ถึง 0.31 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 แบบทดสอบย่อยฉบับที่ 13 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.73 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.69 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.78 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ 15 ข้อ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านเนื้อหา ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอนและด้านการวัดและประเมินผล มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ( ) ตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.71 และ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.63/77.31 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, = 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ( = 4.65, = 0.48) รองลงมาได้แก่ ด้านสื่อการเรียนการสอน ( = 4.60, = 0.49) และด้านเนื้อหา ( = 4.58, = 0.50) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวัดและประเมินผล ( = 4.48, = 0.50)
โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม ช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ควรที่จะมีการนำไปใช้เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพต่อไป