บทคัดย่อ
ชื่องานวิจัย การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง การชั่งและการตวง
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวสุกัญญา แก้วศรี
โรงเรียน โรงเรียนบ้านโคกใหญ่
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง การชั่งและการตวง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง การชั่งและการตวง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง การชั่งและการตวง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การชั่งและการตวง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนบ้านโคกใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวนนักเรียน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รูปแบบการทดลองคือ One Group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบฝึกทักษะ เรื่อง การชั่งและการตวง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การชั่งและการตวง จำนวน 20 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การชั่งและการตวง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.44 - 0.59 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20 - 0.72 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .82 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง การชั่งและการตวง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยใช้สูตรความสอดคล้อง IOC ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สูตร KR21 และการวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้สูตร t-test และการวิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index) ของการพัฒนาทักษะการชั่งและการตวง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการใช้แบบฝึกทักษะ
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะ เรื่อง การชั่งและการตวง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ศึกษาพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.66/83.33 แสดงว่าแบบฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการชั่งและการตวง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยการใช้แบบฝึกทักษะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3 ดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง การชั่งและการตวง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.7870 หมายความว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.70
๔. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง การชั่งและการตวง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.31 แสดงว่านักเรียนมีความความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด