ชื่อเรื่อง การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เรื่อง Food and Drink ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางนุสรา ทิพย์อุทัย
สถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านท่ามะกา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2
ปีที่พิมพ์ 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เรื่อง Food and Drink ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เรื่อง Food and Drink ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เรื่อง Food and Drink ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียน ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เรื่อง Food and Drink ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เรื่อง Food and Drink ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านท่ามะกา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 จำนวนนักเรียน 78 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านท่ามะกา อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เรื่อง Food and Drink ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 เล่ม มีระดับความเหมาะสมโดยรวมมากที่สุด ( x̄ = 4.70) 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เรื่อง Food and Drink ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 11 แผน มีระดับความเหมาะสมมากที่สุด ( x̄= 4.68) 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง Food and Drink ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก 0.35 0.80 ค่าอำนาจจำแนก 0.28 0.45 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ 0.74 และ 4) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เรื่อง Food and Drink ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ 0.38 - 0.79 และค่าความเชื่อมั่น 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Sample)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เรื่อง Food and Drink ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 78.32/78.02 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เรื่อง Food and Drink ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.7013 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น 0.7013 หรือคิดเป็นร้อยละ 70.13
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เรื่อง Food and Drink ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เรื่อง Food and Drink ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีระดับความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับ ( x̄ = 4.59)
โดยสรุปหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เรื่อง Food and Drink ชั้นประถมศึกษาปีที่ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเกณฑ์ที่เชื่อถือ และยอมรับได้สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนมีความสามารถแสวงหาความรู้ เชื่อมโยงความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนระดับสูงขึ้นต่อไป