บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนแบบหน่วยที่เน้นกิจกรรมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ว21102 เรื่อง บรรยากาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนแบบหน่วยที่เน้นกิจกรรมการคิดวิเคราะห์ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนแบบหน่วยที่เน้นกิจกรรมการคิดวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์
ว21102 เรื่อง บรรยากาศ โดยใช้บทเรียนแบบหน่วยที่เน้นกิจกรรมการคิดวิเคราะห์ ศึกษาความ
พึงพอใจของนักเรียนและศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ว21102 เรื่อง บรรยากาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้บทเรียนแบบหน่วยที่เน้นกิจกรรมการคิดวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนประชาบดีพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จำนวน 22 คน ได้จากการสุ่มแบบจัดกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ บทเรียนแบบหน่วยที่เน้นกิจกรรมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ว21102 เรื่อง บรรยากาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 14 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย , S.D. ร้อยละ และ t-test (Dependent Sample) การดำเนินการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองรูปแบบการศึกษาใช้การทดสอบก่อนและหลังการเรียน
สรุปผลการศึกษา พบว่า
1. บทเรียนแบบหน่วยที่เน้นกิจกรรมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ว21102 เรื่อง
บรรยากาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานเท่ากับ 86.37/80.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนแบบหน่วย
ที่เน้นกิจกรรมการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ว21102 เรื่อง บรรยากาศ หลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
. 3. นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ร้อยละ 79.39
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ว21102 เรื่อง บรรยากาศ โดยใช้บทเรียนแบบหน่วยที่เน้นกิจกรรมการคิดวิเคราะห์โดยส่วนรวมอยู่ในระดับพอใจมากที่สุด
5. การทดสอบความคงทนในการเรียนรู้ จากการทดสอบหลังเรียน และการทดสอบหลังเรียน
2 สัปดาห์ พบว่านักเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05