บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง รายงานประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
โรงเรียนบ้านม่อน (ปัญญาฉลาดราษฎร์นุกูล)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2
ผู้รายงาน นายสง่า พุ่มพวง
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านม่อน(ปัญญาฉลาดราษฎร์นุกูล)
ปีที่ศึกษา 2557-2558
ประเภท รายงานผลการศึกษาเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
รายงานฉบับนี้ เป็นการรายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านม่อน(ปัญญาฉลาดราษฎร์นุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านม่อน(ปัญญาฉลาดราษฎร์นุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 5 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 จำนวน 25 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 25 คน และกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 62 คน ของโรงเรียนบ้านม่อน(ปัญญาฉลาดราษฎร์นุกูล) ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนเกี่ยวกับการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน โดยเป็นการประเมินการดำเนินงานโครงการใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ด้านกระบวนการของโครงการและด้านผลผลิตของโครงการ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาเกี่ยวกับการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน โดยเป็นการประเมินการดำเนินงานโครงการใน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านกระบวนการของโครงการและด้านผลผลิตของโครงการ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน โดยเป็นการประเมินการดำเนินงานโครงการใน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านกระบวนการของโครงการและด้านผลผลิตของโครงการ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ เช่นเดียวกัน ผู้รายงานสอบถามเพื่อทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองกับครูผู้สอน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา ในส่วนของนักเรียนได้ขอความกรุณาจากครูผู้สอนดำเนินการชี้แจงให้นักเรียนทราบแล้วให้นักเรียนตอบแบบสอบถามตามความเป็นจริง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง
ผลการศึกษา พบว่า
1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน
บ้านม่อน (ปัญญาฉลาดราษฎร์นุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ของครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษา และนักเรียน สามารถสรุปเป็นรายด้านและโดยภาพรวม มีดังนี้
1.1 ความคิดเห็นของครูผู้สอนเกี่ยวกับการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
ของโรงเรียนบ้านม่อน (ปัญญาฉลาดราษฎร์นุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับ ดังนี้ ด้านผลผลิตของโครงการ ด้านกระบวนของโครงการและด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ มีรายละเอียดดังนี้
1.1.1 ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา
เป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด แต่มีข้อที่อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับ ดังนี้ การมีเอกสาร หนังสือ คู่มือเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเพียงพอ การมีวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีอย่างเพียงพอ การมีงบประมาณจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ตามการดำเนินการโครงการได้ครบตามความต้องการ และการมีงบประมาณจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ตามการดำเนินการโครงการได้ทันตามกำหนด
1.1.2 ด้านกระบวนการของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทั้งหมดอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน
1.1.3 ด้านผลผลิตของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็น รายข้อ พบว่า ทั้งหมดอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน
1.2 ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาเกี่ยวกับ
การดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนบ้านม่อน (ปัญญาฉลาดราษฎร์นุกูล) พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับ คือ ด้านผลผลิตของโครงการ และด้านกระบวนการของโครงการ ตามลำดับ มีรายละเอียดดังนี้
1.2.1 ด้านกระบวนการของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น
รายด้านย่อย พบว่า ด้านการให้บริการและเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ใน ระดับมาก มีข้อที่อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับ คือ การจัดกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพส่งผลต่อชุมชน ความเหมาะสมในการมีส่วนร่วมการจัดกิจกรรมด้านสุขภาพของชุมชน และการจัดบริเวณโรงเรียนเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจให้แก่ประชาชนในชุมชน ส่วนด้านการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก มีข้อที่อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับ คือ การเปิดโอกาสให้ชุมชนเสนอแนะแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนในการส่งเสริมสุขภาพ การยอมรับข้อเสนอแนะของชุมชนและนำไปปฏิบัติ และการเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับสุขภาพที่โรงเรียนจัดขึ้น
1.2.2 ด้านผลผลิตของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ
พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก มีข้อที่อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับ คือ ชุมชนจัดให้มีกิจกรรมการออกกำลังกายและกีฬาอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง บุตรหลานของท่านมีความรู้ความเข้าใจเรื่องสารเสพติดและการป้องกันตนเองจากสารเสพติดได้ และมีการควบคุมรณรงค์ป้องกันโรคต่างๆ ในชุมชนอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ
1.3 ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
ของโรงเรียนบ้านม่อน (ปัญญาฉลาดราษฎร์นุกูล) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับ คือ ด้านกระบวนการของโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการ ตามลำดับ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1.3.1 ด้านกระบวนการของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด มีข้อที่อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับ คือ โรงเรียนมีการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ นักเรียน มีความสะดวกในการรับบริการด้านสุขภาพอนามัยจากโรงเรียนและเนื้อหาวิชาที่เรียนมีความทันสมัยต่อเหตุการณ์ในปัจจุบันและเหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนและชุมชน
1.3.2 ด้านผลผลิตของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็น
รายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด มีข้อที่อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับ คือ นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องสารเสพติดและวิธีการป้องกันตนเองจากสารเสพติดได้ นักเรียนร่วมควบคุมรณรงค์ป้องกันโรคต่างๆ ในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ และนักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันอย่างมีคุณภาพจากโรงเรียน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
1. โรงเรียนควรจัดสรรงบประมาณหรือระดมทรัพยากรจากชุมชนเพื่อดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพให้เพียงพอ
2. โรงเรียนควรมีการประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือสำนักงานสาธารณสุขอำเภอหรือสถานีอนามัยในการสนับสนุนทั้งทางด้านงบประมาณและบุคลากรในการร่วมดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
3. ควรมีการขยายผลโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพไปสู่ชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพอย่างแท้จริง เนื่องจากนักเรียนมีเวลาส่วนใหญ่อยู่ในชุมชน
4. โรงเรียนควรมีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพให้ผู้ปกครองและชุมชนได้รับทราบ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาสุขภาพของนักเรียน
ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบที่เหมาะสมต่อการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน ตามบริบทและขนาดของโรงเรียน
2. ควรมีการศึกษารูปแบบการดำเนินถ่ายทอดความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนไปสู่ครอบครัวละชุมชน
3. ควรมีการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน