การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การพัฒนาผลสัมฤทธิ์เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร โดยใช้แบบฝึกทักษะ
ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Constructivist มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Constructivist
ตามเกณฑ์ 75/75 (2)ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ เรื่องอนุพันธ์ของฟังก์ชันโดยใช้
แบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Constructivist (3)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Constructivist ก่อนเรียนและหลังเรียน (4)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร
โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Constructivist ประชากรในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 134 คน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558
โรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 38 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง จากประชากรซึ่งจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา (1)แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Constructivist (2)แบบฝึกทักษะ เรื่องเรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร (3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (4)แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละของคะแนนและระดับความพึงพอใจ ทดสอบเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยโดยใช้ t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Constructivist วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม เท่ากับ 82.04/79.73 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/75
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้เรื่องอนุพันธ์ของฟังก์ชัน โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) มีค่าเท่ากับ 0.6316 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 63.16
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนเรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Constructivist ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ Constructivistอยู่ในระดับมาก ( =4.11)