บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้ชุดการเรียน เรื่อง เลขยกกำลัง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT)
ผู้วิจัย นางอรวรรณ ดิษยโสธรศิลป์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2558
การพัฒนาการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้ชุดการเรียน เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพใช้ชุดการเรียน เรื่อง เลขยกกำลังชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียน เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT) 3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน โดยใช้แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เลขยกกำลังชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT) 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดย ใช้ชุดการเรียน เรื่อง เลขยกกำลังชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 คำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จำนวน 3 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 114 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/8 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28 จำนวน 38 คน จาก 1 ห้องเรียน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด ได้แก่ 1) ชุดการเรียนเรื่อง เลขยกกำลังชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT จำนวน 8 ชุด 3) แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT จำนวน 14 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เลขยกกำลังชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก .20 ถึง 100 ค่าอำนาจจำแนก 0.24 0.79 และค่าความเชื่อมั่น .90 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียน เรื่อง เลขยกกำลังชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT)เป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 20 ข้อ ภาพรวมระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅= 4.53) และค่าความเชื่อมั่น .901 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบ ค่า t (t test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดการเรียน เรื่อง เลขยกกำลัง รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 86.31/82.63 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียน เรื่อง เลขยกกำลังวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.7770 แสดงว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้า ร้อยละ 77.70
3. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียน เรื่อง เลขยกกำลังรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียน เรื่อง เลขยกกำลังรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.53) เมื่อแยกตามรายด้านพบว่า ด้านที่นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านสื่อการเรียนการสอน ระดับมากที่สุด (x ̅=4.57) ส่วนด้านที่นักเรียนมีความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ระดับมาก (x ̅=4.46)