นางสาวกฤษณา รอบรู้.2559.ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปา กลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ขอนแก่น :
โรงเรียนบ้านหินตั้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2.
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 42) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 3)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2558โรงเรียนบ้านหินตั้งอำเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2จำนวน19คน
รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวงจรปฏิบัติการวิจัย 2 วงจร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองและปฏิบัติการได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4โดยใช้รูปแบบซิปปาจำนวน 11แผน2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติได้แก่แบบบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียนและแบบทดสอบท้ายวงจร3) เครื่องมือประเมินผลประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิตเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการ คือ 1) ก่อนการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้ปฐมนิเทศผู้ช่วยวิจัยและนักเรียน แล้วทำการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) กับกลุ่มเป้าหมาย2) ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา 3) หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดำเนินการทดสอบหลังเรียน (Post-test) และสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนกับกลุ่มเป้าหมาย
การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้สถิติ คือค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที (t-test for dependent sample) และสรุปความเรียง
ผลการวิจัย พบว่า
1.การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม มีการเคลื่อนไหวทางร่างกาย สามารถสรุปความรู้ได้ด้วยตนเองทั้งจากการศึกษาใบความรู้ ใบกิจกรรม สื่อที่ผู้สอนจัดเตรียมไว้และการทำกิจกรรมต่าง ๆ นักเรียนมีความสุขและกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม ซึ่งช่วยให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันทั้งนักเรียนกับนักเรียนและนักเรียนกับครู นักเรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันทั้งภายในกลุ่มย่อยและในชั้นเรียนนักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์กล้าแสดงออกและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมตามศักยภาพมีทักษะในการสื่อสารที่ดีขึ้นและมีมารยาทที่ดีในอยู่ร่วมกันนอกจากนี้นักเรียนยังได้ฝึกทักษะ กระบวนการ ในด้านการทำงานอย่างเป็นระบบการแก้ปัญหาการสื่อสาร การนำเสนอ และการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ในด้านความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน และมีความเชื่อมั่นในตนเอง อีกทั้งยังได้ฝึกการนำความรู้ที่ได้จากการเรียนไปประยุกต์ใช้ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและแนวคิดของการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปา(CIPPA Model)
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ80.53ของคะแนนเต็มซึ่งสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ23.87ของคะแนนเต็ม โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนบ้านหินตั้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด