บทคัดย่อ
การพัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการฝึกแบบวงจร ครั้งนี้มีดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายแบบวงจร 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกาย ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ของนักเรียนที่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายแบบวงจรและ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เข้าร่วมการพัฒนาสมรรถภาพทางกายโดยใช้โปรแกรมการออกกำลังกายแบบวงจร ประชาการที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลวัดแม่นางปลื้ม ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการออกกำลังกายแบบวงจร จำนวน 10 สถานี 2) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายจำนวน 5 รายการ ประกอบด้วย ดัชนีมวลกาย ความอ่อนตัว ความอดทนของกล้ามเนื้อท้อง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนบนและความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่เข้าร่วมการพัฒนาสมรรถภาพทางกายโดยใช้โปรแกรมการออกกำลังกายแบบวงจร ซึ่งเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation), Friedman test และ Non parametric Kruskal-wallis One-way ANOVA with Repeated Measure ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. การเปรียบเทียบผลของสมรรถภาพทางกายภายในกลุ่ม ของทั้ง 3 กลุ่มแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยโปรแกรมแบบสถานีมีการพัฒนาด้านความแข็งแรงของ
กล้ามเนื้อท้องเพิ่มขึ้น โปรแกรมการละเล่นพื้นบ้านมีการพัฒนาด้านความเร็วที่ดีขึ้น และโปรแกรมผสมแบบสถานีกับการละเล่นพื้นบ้านมีการพัฒนาด้านความคล่องแคล่วว่องไวและความอ่อนตัวที่ดีขึ้น
2. การเปรียบเทียบผลของสมรรถภาพทางกายระหว่างกลุ่ม ของทั้ง 3 กลุ่มแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสมรรถภาพด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อท้องมีความ
แตกต่างกันระหว่างหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 และโปรแกรมฝึกผสม มีสมรรถภาพทางกาย
ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อท้องและความเร็วดีกว่าโปรแกรมแบบสถานีและโปรแกรมการละเล่น
พื้นบ้าน