ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา
ผู้วิจัย : นางวรรณทิพย์ บุณกานนท์
ปีที่วิจัย: 2559
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการบริหารชมรมผู้ปกครอง ครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียน ในปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง จำนวน 290 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา และแบบประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range) ค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.)
ผลการศึกษาพบว่า
1. รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา ที่สร้างขึ้นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความ เห็นว่า มีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ โดยรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา ที่สร้างขึ้นประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม องค์ประกอบที่ 2 ขอบข่ายงานมาตรฐานคุณภาพการศึกษา องค์ประกอบที่ 3 การกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนร่วม และองค์ประกอบที่ 4 กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม
2. ผลการศึกษาการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา พบว่า
2.1 มาตรฐานด้านปัจจัยทางการศึกษา ครูมีความรู้ ความสามารถ มีคุณภาพตามใบประกอบวิชาชีพ จัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ นักเรียนมีการปฏิบัติจริงและได้รับประสบการณ์ตรงมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย มีการพัฒนาตนแองอยู่เสมอ โดยการศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งเข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน นำความรู้ประสบการณ์ที่ได้มาปรับปรุงพัฒนางานของตนเองอย่างต่อเนื่อง จนได้รับวิทยฐานะสูงขึ้นตามลำดับ ได้รับการยกย่องชมเชยจากหน่วยงานต่างๆ เช่น รางวัลหนึ่งแสนครูดี ครูผู้สอนดีเด่น จากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จากเทศบาลเมืองพังงา
2.2 มาตรฐานด้านกระบวนการศึกษา มีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้ทันต่อเหตุการณ์ วางแผนงานด้านวิชาการ พัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครู อบรมพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจในการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง นำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนา พัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน เช่น สร้างแหล่งเรียนรู้สวนเศรษฐกิจพอเพียง ห้องซาวด์แลบ ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องศูนย์การเรียนรู้อาเซียน สนับสนุนให้ครูใช่สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน มีการนิเทศติดตามการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
2.3 มาตรฐานด้านผลผลิตทางการศึกษา นักเรียนมีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี มีสุนทรียภาพด้านดนตรี กีฬา ศิลปะ เป็นลูกที่ดีของพ่อ แม่ ผู้ปกครอง เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ผู้ปกครอง เป็นคนดีของโรงเรียน ปฏิบัติตนตามกฎ ระเบียบ ข้อกำหนดของห้องเรียน ของโรงเรียน รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายจากโรงเรียน มีการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น มีความคิดสร้างสรรค์ คิดเป็นระบบ และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระผ่านเป้าประสงค์ของโรงเรียน และมีผลการประเมินทางการศึกษาระดับชาติผ่านร้อยละเฉลี่ยระดับประเทศ มีความสามารถ ในการอ่านออกเขียนได้ สื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา พบว่า ในภาพรวมคณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการบริหารชมรมผู้ปกครอง ครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการบริหารชมรมผู้ปกครอง ครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เทศบาลเมืองพังงา จังหวัดพังงา ด้านประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงาน มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านประโยชน์ต่อโรงเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และต่ำสุดคือ ด้านความเป็นไปได้มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก