ชื่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์
ผู้ศึกษา นางพจนา โชตยันดร ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
ความมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับ เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 3)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 4) เพื่อหาประสิทธิผลทางความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยก่อนและ หลังการทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 36 คน ซึ่งได้มา โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยถ่ายทอดแนวคิดของรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ออกมาในรูปของแผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 3) แบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ โดยถ่ายทอดแนวคิดของรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ออกมาในรูป ของแผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ซึ่งในกระบวนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย (PISAA) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 การกำหนดปัญหา (Problem Finding) หมายถึง การสังเกต สำรวจ รับรู้และทำความเข้าใจในสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อม แล้วนำมาสรุปสิ่งที่เป็นปัญหาและสาเหตุของปัญหา
ขั้นที่ 2 การค้นหาความคิด (Idea Finding) หมายถึง การสืบค้น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการคิดที่เป็นไปได้สำหรับการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 3 การเลือกกลวิธีการแก้ปัญหา (Strategy Finding) หมายถึง การนำความคิดและเหตุผลมาตัดสินใจเลือกวิธีและวางแผนการแก้ปัญหาตามลำดับขั้น
ขั้นที่ 4 การลงมือปฏิบัติ (Action Finding) หมายถึง การปฏิบัติตามลำดับ ขั้นของวิธีการแก้ปัญหาตามที่ได้วางแผนไว้
ขั้นที่ 5 การประเมินผล (Assessment Finding) หมายถึง การนำเสนอผล ที่ได้จากการลงมือปฏิบัติมาอธิบายหรือแสดงว่าเป็นวิธีการที่สามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และมีประโยชน์อย่างไร
จากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในการประเมินคุณภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ รวมทุกด้านและจำแนกรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.70, =0.39)
2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ เท่ากับ 85.44/90.23 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
3. ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ( =7.22, =1.05) สูงกว่าการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรม เสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียน เทศบาลท่าอิฐ กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ( =7.22, =20.68) อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01
4. ดัชนีประสิทธิผลทางความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล ปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์มีค่าเท่ากับ 0.6266 แสดงว่า ประสิทธิผลทางความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลัง การทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ มีความก้าวหน้าทางความสามารถ ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 62.66
5. ความความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ท่าอิฐ กองการศึกษา เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ รวมทุกข้ออยู่ในระดับมาก ( =4.31, =0.74)