บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริม
กระบวนการคิด คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางนิตยา ขันตี ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๑ (บุรวิทยาคาร) เทศบาลเมืองขลุง จังหวัดจันทบุรี
ปีที่พิมพ์ 2557
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด คุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด คุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด คุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด คุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในประเด็นดังนี้ 4.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 4.2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แหล่งข้อมูลและกลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ แหล่งข้อมูลและกลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์การวิจัยตอนที่ 1ได้แก่1) เอกสารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๑ (บุรวิทยาคาร) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 2) เอกสารแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) ครูวิชาสังคมศึกษา จำนวน 8 คน นักเรียน จำนวน 30 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 30 คน แหล่งข้อมูลและกลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์การวิจัยตอนที่ 2 ได้แก่ 1) เอกสารข้อมูลพื้นฐานที่ได้วิเคราะห์ในขั้นตอนที่ 1 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านรูปแบบและด้านการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 5 คนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๑ (บุรวิทยาคาร) ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 30 คน 3) เอกสารตำราเกี่ยวกับทฤษฎีหลักการ กระบวนการคิด และคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ และแบบสอบถามความพึงพอใจเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและแหล่งข้อมูลและกลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์การวิจัยตอนที่ 3, 4 ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๑ (บุรวิทยาคาร) ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 26 คนโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random Sampling)เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) รูปแบบการเรียนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคำนวณสำเร็จรูป และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สถิติที่ใช้ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระต่อกัน (t-test ชนิด Dependent Samples) Analysis) ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่าหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ยึดหลักการและแนวคิดสำคัญคือ มีมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน ผลการศึกษาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาแบละวัฒนธรรม ในสาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ พบว่า ต้องการให้นักเรียนมีความเข้าใจกระบวนการต่างๆ ผลการศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ พบว่าพฤติกรรมนิยม เป็นการเรียนรู้ผลของการเปลี่ยนแปลงความรู้หรือพฤติกรรม ผลการศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดอภิปัญญาในการแก้ปัญหา พบว่าการเข้าใจกระบวนการคิด การควบคุมและตรวจสอบการรู้คิดของตนเอง สามารถเลือกใช้ยุทธวิธีที่เหมาะสมกับการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง กำกับการคิดของตนเองขณะแก้ปัญหา ประเมินการแก้ปัญหา และเห็นความสำคัญของภาระงาน ผลการศึกษาการพัฒนาทักษะการคิด คุณธรรมจริยธรรมและค่านินมที่พึงประสงค์ ประกอบหนังสือส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด คุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ โดยผู้วิจัยได้ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน โดยนำเนื้อหาสาระการเรียนรู้ เศรษฐศาสตร์ ชุด เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาความรู้และทักษะกระบวนการคิดและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ที่เหมาะสมกับเนื้อหามาใช้ในการวิจัย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง พฤติกรรมที่ต้องการให้นักเรียนเกิดขึ้น จากรูปแบบการจัดการเรียนเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้หนังสือนิทานที่มีภาพประกอบเป็นภาพการ์ตูนระบายสีสวยงาม น่าสนใจ และแสดงเหตุการณ์และเนื้อหาที่ผู้วิจัยตั้งใจจะให้สื่อความหมายเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งมีจำนวน 10 เรื่อง ได้แก่ 1) ความพอประมาณ 2) เด็กดีมีเหตุผล 3) การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี 4) ความรู้คู่คุณธรรม 5) ความเพียร 6) ความซื่อสัตย์ 7) ความสามัคคี 8) ความกตัญญู 9) ความมีน้ำใจ และ10) ความมีวินัย ผลการศึกษากิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน พบว่า 1) ผู้เรียนต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง 2) ผู้เรียนจะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ เข้าร่วมกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น และ 3) ผู้เรียนต้องมีการประเมินตนเองรวมทั้งพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้า ผลการศึกษาปัญหาในรายวิชาวิทยาศาสตร์ พบว่า 1) ครูมีพื้นฐานความรู้และความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ที่แตกต่างกัน 2) พื้นฐานความรู้ของนักเรียนแตกต่างกัน 3) วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์มีไม่เพียงพอต่อการทำปฏิบัติการ ผลการศึกษาความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนของครู นักเรียนและผู้ปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบดังนี้
1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) กระบวนการเรียนรู้ รูปแบบการสอนที่เหมาะสม ดังนี้
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ โดยผู้วิจัยได้ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน โดยนำเนื้อหาสาระการเรียนรู้ เศรษฐศาสตร์ ชุด เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาความรู้และทักษะกระบวนการคิดและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ที่เหมาะสมกับเนื้อหามาใช้ในการวิจัย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนี้ 1) รูปแบบการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ 2) รูปแบบการสอนโดยการทำค่านิยมให้กระจ่าง 3) รูปแบบการสอนโดยใช้กระบวนการสร้างนิสัย 4) รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม 5) รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาจริยธรรม 6) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย ผลการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ในภาพรวมได้ค่าความเหมาะสม/สอดคล้องมีค่าเฉลี่ย ( = 4.60) ซึ่งแสดงว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด คุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม/สอดคล้องเชิงโครงสร้าง สามารถนำไปทดลองใช้ได้และผลการหาประสิทธิภาพ (E1 / E2) โดยการทดลองภาคสนาม (Field Tryout) ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนโดย 84.83/84.69 ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนโดย 85.28/85.41
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนจากการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างได้ค่าประสิทธิภาพ(E1 / E2) ของรูปแบบการเรียนการสอนเท่ากับ 85.28/85.41
4. ผลการประเมินผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลดังนี้
4.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
4.3 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59)