ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลจามเทวี อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
ผู้รายงาน
ปีที่ประเมิน นางสายฝน ไทยกรรณ์
ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการ
พ.ศ.2558
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพการดำเนินงานในการจัดทำโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลจามเทวี อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยใช้รูปแบบประเมิน CIPP Model ประเมิน 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) 4) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) และศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลจามเทวี อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยประชากรที่ใช้ศึกษาเป็นครู นักเรียน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาเป็นแบบสอบถามจำนวน 3 ฉบับ แต่ละฉบับแบ่งเป็น 3 ตอน คือ สอบถามสภาพทั่วไป, ประเมินสภาพการดำเนินงานโครงการ, สอบถามความพึงพอใจในการดำเนินการตามโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลจามเทวี อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติ คือ ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต(Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) ตามเกณฑ์ที่กำหนด ผลของการประเมินโครงการฯ พบว่า
1. สภาพทั่วไปผู้ตอบแบบสอบถาม ครูส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 51-60 ปี นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 12 ปีขึ้นไป ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 30-40 ปี ประกอบอาชีพรับจ้าง และกรรมการสถานศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 41-50 ปี ประกอบอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ
2. ผลการประเมินสภาพการดำเนินงานโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลจามเทวี อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พบว่า
1) ด้านสภาวะแวดล้อม
ด้านสภาวะแวดล้อมในภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดโดยสภาพการดำเนินงานในเรื่องผู้บริหารโรงเรียนสนับสนุนให้ครูผู้สอนในโรงเรียนนำหลักการเศรษฐกิจพอเพียงเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
2) ด้านปัจจัยนำเข้า
ด้านปัจจัยนำเข้าในภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากโดยสภาพการดำเนินงานในเรื่อง โรงเรียนจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์เพื่อใช้ในการดำเนินงานโครงการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด
3) ด้านกระบวนการ
ด้านกระบวนการในภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดตามความคิดเห็นของครูสภาพการดำเนินงานในเรื่อง มีการบันทึกกิจกรรมการปฏิบัติงานทุกครั้งอย่างสม่ำเสมอ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และตามความคิดเห็นของนักเรียนสภาพการดำเนินงานในเรื่องนำผลผลิตที่ได้จากโครงการไปสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันของเด็กนักเรียนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
4) ด้านผลผลิต
ด้านผลผลิต ในภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดตามความคิดเห็นของครูผลการประเมินในเรื่อง โรงเรียนมีการจัดทำรูปแบบกิจกรรมโครงการ ให้เป็นแหล่งข้อมูลศึกษาแก่ชุมชนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ตามความคิดเห็นของนักเรียนการสร้างเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียนด้วยกิจกรรมตามโครงการมีความเหมาะสมมาก มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองการสร้างเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียนด้วยกิจกรรมตามโครงการมีความเหมาะสมมาก มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และตามความคิดเห็นของกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนมีการรายงานผลการดำเนินงานและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการทำงานมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
ผลการประเมินสภาพการดำเนินงานโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลจามเทวี อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ในทุกด้านแล้ว พบว่า ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อแล้ว พบว่า ผลการประเมินด้านกระบวนการมีค่าเฉลี่ยมากกว่าด้านอื่น ๆ
3. ความพึงพอใจในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลจามเทวี อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ในภาพรวมทั้งครู นักเรียน ผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษา มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
Title The Assessment of the Project-Based Learning Development on the Philosophy of Sufficiency Economy of Chamadevi Municipal School, Muang, Lamphun Province
Researcher
Year Mrs. Sayfon Thaikan
Deputy Head Teacher (Academic Standing : Professional Teacher)
2015
Abstract
The project assessment aims to assess a project-based learning on the philosophy of sufficiency economy of Chamadevi Municipal School, Muang, Lamphun Province.The populations in this study are students, teachers, parents of the students and the Board of School Committee. The scopes of the study are the authentic assessment, the performance satisfaction towards the project-based learning on the philosophy of sufficiency economy by using the CIPP Model and the satisfactory assessment on the project performance. The tools used in the study is Education is a series of questionnaire which is divided into three sections ; the general inquiries, the authentic performance of the project and the satisfaction towards the implementation of the project-based learning on the philosophy of sufficiency economy of Chamadevi Municipal School Muang, Lamphun Province. The statistical analyses used in the study are Percentage, Mean and Standard Deviation (S.D.) which meet the criteria of evaluation. The results of the study showed that.
1. Thegeneral status of the questionnaire respondents ; the majority of teachers werefemale (93.75 percent) aged 51-60 years (56.25percent), themajority of students
werefemale (60.00 per cent) aged up12 years (38.33 percent),the majorityof studentparents were female, (53.33 percent) aged 30-40 years (38.33 percent) work as the workers (58.33 percent) and the majority of the School Board Committees are female (55.56 per cent) aged 41-50
years (66.67 percent), whose careers are the government officers and state enterprise officers
(55.56 percent).
2. The overall rates of the assessment on every aspect of the project-based learning development conditions resulted in at the highest level. And to examine on every single aspect, the process assessment was figured out at the highest average level as the top ranking of all conditions. The production and the environmental assessment were figured out the highest average level as the second ranking. The input assessment had the lowest average at a high level.
3. The result on the satisfaction on the implementation of the project-based learning development on the philosophy of sufficiency economy of Chamadevi Municipal School, Lamphun Province showed that the overview satisfaction towards the project of the populations (teachers, students, parents and the school board committees was at the highest level. Teachers were satisfied most with the participation of the project activities of the parent and the school board committees. Students were satisfied most with the outcomes of the project activities. Parents were satisfied most with the principle of sufficiency economy education of the school. The school board committees were satisfied most with the participation of the project activities of the parent and the school board committees. Students have developed more attribute of rationality and were satisfied with the outcomes of project activities.