บทคัดย่อ
หัวข้องานวิจัย รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบ
ครงงานฐานวิจัย (Research - Based Learning) โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา
ผู้วิจัย นางวัชรินทร์ คำวงศ์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการรูปแบบการพัฒนาบุคลาครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research Based Learning) โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research Based Learning) โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research Based Learning) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research Based Learning) โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 34 คน ประกอบด้วยรองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอนโรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา จำนวน 33 คน 2) กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ครูผู้สอนที่เป็นกลุ่มผู้ร่วมวิจัยโรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา จำนวน 29 คน 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 33 คน ประกอบด้วย 1) ครูพี่เลี้ยงที่ ร่วมกำกับ ติดตาม ให้คำปรึกษา และนิเทศในการดำเนินการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research Based Learning) จำนวน 4 คน 2) กลุ่มครูผู้ร่วมวิจัย จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต ประเด็นสนทนากลุ่ม และ แบบสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. ) ค่า Wilcoxon Signed Ranks Test และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research Based Learning) โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ มีชื่อว่า เอสทีเออีเอ (STAEA Model) โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 - 1.00 ความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 1.00 และความสอดคล้องของรูปแบบมีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 1.00 ทั้งนี้เนื่องมาจากขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research Based Learning) มีกระบวนการที่เป็นระบบ มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันทุกองค์ประกอบ ซึ่งก็คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ที่คาดหวัง
2. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบ โครงงานฐานวิจัย (Research Based Learning) โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ สรุปได้ดังนี้
2.1 สมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research Based Learning) ของผู้รับการอบรม หลังการใช้รูปแบบ โดยภาพรวม พบว่า การฝึกอบรมส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research Based Learning) อยู่ในระดับมากที่สุด ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อ 1 ที่กำหนดไว้ และเมื่อพิจารณาการประเมินผลการฝึกอบรมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research Based Learning) เป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า การประเมินด้านผลผลิต (Product) ด้านสภาวะแวดล้อม( Context ) ด้านปัจจัยนำเข้าของการฝึกอบรม (Input)
และด้านกระบวนการ (Process) อยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research Based Learning) ครูพี่เลี้ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research Based Learning) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research Based Learning) มีคะแนนสูงกว่า ก่อนการใช้รูปแบบพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research Based Learning)
2.3 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research Based Learning) ครูผู้รับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research Based Learning) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อ 2 ที่กำหนดไว้ โดยหลังการใช้รูปแบบพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research Based Learning) มีคะแนนสูงกว่า ก่อนการใช้รูปแบบพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research Based Learning)