ชื่อเรื่อง การพัฒนาคุณภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนบำรุงพงศ์อุปถัมภ์ตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน
ผู้วิจัย ธงชัย บุตรกาล
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
หน่วยงาน โรงเรียนบำรุงพงศ์อุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
ปีที่วิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปี 2557 ถึง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนบำรุงพงศ์อุปถัมภ์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 วงรอบ กลุ่มเป้าหมายการวิจัยมีจำนวนทั้งสิ้น 235 คน ประกอบด้วยครูโรงเรียนบำรุงพงศ์อุปถัมภ์ ปีการศึกษา 2557 จำนวน 25 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 และชันมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ปีการศึกษา 2557 ชั้นละ 10 คน จำนวน 90 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับฉลาก ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 และชันมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ที่ได้รับการสุ่ม ปีการศึกษา 2557 ชั้นละ 10 คน จำนวน 90 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2557 จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ผู้เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน โรงเรียนบำรุงพงศ์อุปถัมภ์ จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกการประชุมและแบบบันทึกการนิเทศ ติดตามและประเมินผล แบบสังเกตการปฏิบัติงาน แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสอบถามความพึงพอใจนักเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจผู้ปกครองนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสังเกตการปฏิบัติงานของกลุ่มเป้าหมายการวิจัย ในวงรอบที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50 ในวงรอบที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47
2. ผลการสอบถามความคิดเห็น ผลการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายการวิจัยและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในวงรอบที่ 1 โดยรวมมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.55 ในวงรอบที่ 2 โดยรวมกลุ่มเป้าหมาย
ในการวิจัยและกลุ่มผู้ให้ข้อมูล มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 4.71 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46
3. ผลการสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สรุปผลได้ดังนี้ คือ โดยรวมนักเรียน
มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50 4. ผลการสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน สรุปผลได้ดังนี้ คือ โดยรวมผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49
Performance improvement quality of academic administration of Bumrungpong Upatham School using sufficiency economy philosophy with
community network participations
Mr. Thongchai Butkharn
Director of Bumrungpong Upatham School, Nikomkamsoi
Provincial Administration Organization of Mukdahan, Thailand
2014
Abstract
The purposes of this research were to study the performance improvement of the quality of academic administration of Bumrungpong Upatham School using sufficiency economy philosophy with community network participations by two cycles of action research.
The total number of target population of this research was 235 people which consisting of Bumrungpong Upatham School teachers in the academic year 2557 total of 25 participants were selected by purposive sampling, grade 1 to 6 students class of 10 students total of 60 students were selected by simple random sampling, grade 1 to 6 parents of selected students total of 60 participants, committee on Basic Education School total of 15 people were selected by purposive sampling, and the participation of a network of community schools, total of 15 participants were selected by purposive sampling.
The research instruments were the meeting notes and records of supervision, monitoring and evaluation, observation practice form, general questionnaire, student satisfaction questionnaire and parent satisfaction questionnaire.
Statistical methods in the data analysis are the mean and standard deviation.
The research results were as follows:
1. The performance improvement of the quality of academic administration of Bumrungpong Upatham School using sufficiency economy philosophy of the target population in the first cycle was at a high level, the mean equal to 4.46 and the standard deviation was 0.50, but in the second cycle was at the highest level, the mean equal to 4.66 and the standard deviation was 0.47.
2. The opinions of the target population and providers in the first cycle, the overall opinions on the improvement quality of the high level, the mean equal to 4.48 and the standard deviation was 0.55, but in the second cycle, the overall opinions of the operation at the highest level, the mean was 4.71 and the standard deviation was 0.46.
3. The overall satisfaction of students were at the highest level, the mean equal to 4.66 and the standard deviation was 0.50.
4. The overall satisfaction of parents were at the highest level, the mean equal to 4.63 and a standard deviation was 0.49.