ชื่อผู้วิจัย : นางนิกร ประวันตา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ปีที่วิจัย : 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ
ในการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน สำหรับ
การเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) โดยเน้นเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน สำหรับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) โดยเน้นเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง
ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน สำหรับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) โดยเน้นเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 4) ประเมินผลการใช้และปรับปรุงแก้ไขแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน สำหรับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) โดยเน้นเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวน 48 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 เป็นเวลา 46 ชั่วโมง แบบแผนการทดลอง คือ One Group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม
3) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
จำนวน 12 ชุด 4) แผนการจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) โดยเน้นเทคนิค KWDL จำนวน 46 แผน 5) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก 40 ข้อ 6) แบบทดสอบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ จำนวน
3 ฉบับ แต่ละฉบับประกอบด้วยข้อสอบแบบอัตนัย 15 ข้อ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence : IOC) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t test Dependent )
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน สำหรับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) โดยเน้นเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เห็นสมควรให้มีการพัฒนาบทเรียนแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน สำหรับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) โดยเน้นเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
2. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน สำหรับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) โดยเน้นเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่าสร้างแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ได้จำนวน 12 ชุด คุณภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เท่ากับ 81.05/81.42 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
3. ผลการทดลองใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน สำหรับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) โดยเน้นเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่ามีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6954 แสดงว่านักเรียน มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.54 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.49 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 81.62 และร้อยละของจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไปเท่ากับร้อยละ 90.28
4. ผลการประเมินผลการใช้และปรับปรุงแก้ไขแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน สำหรับการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) โดยเน้นเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D. = 0.87) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) ด้านรูปแบบของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ 2) ด้านการวัดผลประเมินผล และ 3) ด้านเนื้อหา