บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 เพื่อศึกษาผลการหาค่าดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านสวน (ครองประชานุกูล) สังกัดเทศบาลตำบลบ้านสวน
อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 13 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Sample Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 เล่ม และแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทศนิยม เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ประกอบด้วยค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () ร้อยละ
ผลการพัฒนาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.58/78.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75
2. ดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.5350 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.5350 หรือคิดเป็นร้อยละ 53.50
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการใช้แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 17.92 คิดเป็นร้อยละ 57.82 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 1.12 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย () เท่ากับ 24.38 คิดเป็นร้อยละ 81.28 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.96 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่ามีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น 6.46 แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนร้อยละ 21.54
4. ความพึงพอใจของนักเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าความ
พึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คือมีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.75 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เท่ากับ 0.57