บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาศักยภาพ
ผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรงประชาสรรค์)
สังกัดเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี
ชื่อผู้วิจัย นางอัมพวัน สายใหม
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2558
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและปัญหาของการบริหารงานวิชาการแบบ
มีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล(ดำรงประชาสรรค์) สังกัดเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี (2) สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรงประชาสรรค์) สังกัดเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี (3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล(ดำรงประชาสรรค์) สังกัดเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี และ(4) ประเมิน ปรับปรุง และนำเสนอรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรงประชาสรรค์) สังกัดเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี โดยใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย รวมทั้งสิ้น 468 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 3 คน ครู 77 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 13 คน ผู้ปกครอง 60 คน ชุมชน 12 คน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงและนักเรียน 300 คน ได้มาจากการสุ่มโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie&Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกประเด็นศึกษาเกี่ยวกับบริบทของโรงเรียนเป็นแบบสอบถาม ชนิดแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และยกร่างรูปแบบฯ โดยผู้วิจัย ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทดลองใช้รูปแบบฯ ทำการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบฯ ความพึงพอใจเกี่ยวกับรูปแบบฯโดยผู้เกี่ยวข้องและผู้ที่ได้รับผลกระทบ และนำเสนอรูปแบบฯ ฉบับสมบูรณ์
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.22) เป็นไปในทิศทางเดียวกันทุกด้าน คือ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนอยู่ในระดับมาก คือ (1) การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ (2) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) การวัดและประเมินผล (4) การวิจัยทางการศึกษา (5) การแนะแนวการศึกษา (6) การนิเทศการศึกษา (7) การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา และ (8) การบริหารงานห้องสมุด แต่ครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น แสดงการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับน้อยทุกด้าน
ในด้านปัญหาของการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรงประชาสรรค์) ในภาพรวม พบว่ามีปัญหาอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.06) เรียงลำดับ ดังนี้ ด้านปกครอง/ชุมชน/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.51) ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารแบบมีส่วนร่วมมีปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.68) ด้านสถานศึกษา โดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.33) ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ยังไม่มีรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.34) ด้านคณะกรรมการสถานศึกษา
โดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.20) ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ไม่สามารถมาเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาได้ทุกครั้งมีปัญหาอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.39) ด้านครู โดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.01) ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ขาดความมั่นใจในการแสดงความคิดเห็นและไม่กล้าตัดสินใจ มีปัญหาอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.11) ด้านผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 2.98) ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ
ไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมครูจากการเป็นผู้ปฏิบัติมาเป็นการร่วมตัดสินใจได้ มีปัญหาอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.62)
2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรงประชาสรรค์) สังกัดเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ชื่อของรูปแบบ ส่วนที่ 2 หลักการ แนวคิด และวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 3 กระบวนการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ ส่วนที่ 4 ภาพความสำเร็จของการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ และส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพ และมีประโยชน์ในการบริหารงานวิชาการทางการศึกษา มีความเหมาะสม และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติโดยผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก