ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบวารุณีโมเดลร่วมกับเทคนิค
การเสริมแรง เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย
รหัส ท23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้รายงาน นางวารุณี ปิ่นสันเทียะ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนพระทองคำวิทยา อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่พิมพ์เผยแพร่ 2558
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบวารุณีโมเดลร่วมกับเทคนิคการเสริมแรง เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย รหัส ท23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบวารุณีโมเดลร่วมกับเทคนิคการเสริมแรง เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย รหัส ท23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบวารุณีโมเดลร่วมกับเทคนิคการเสริมแรง เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย รหัส ท23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้การจัดการเรียนรู้แบบวารุณีโมเดลร่วมกับเทคนิคการเสริมแรง เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย รหัส ท23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้การจัดการเรียนรู้แบบวารุณีโมเดลร่วมกับเทคนิค การเสริมแรง เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย รหัส ท23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน คือ หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนพระทองคำวิทยา การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เทคนิคการเสริมแรง การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ วิธีการสอนอ่านแบบ พาโนลามา และ กลวิธี เอส คิว พี ทู อาร์ เอส (SQP2RS) การสนทนากลุ่มของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนพระทองคำวิทยา แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาผลการทดลองใช้และประเมินการจัดการเรียนรู้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนพระทองคำวิทยา อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) การจัดการเรียนรู้แบบวารุณีโมเดลร่วมกับเทคนิคการเสริมแรง เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย รหัส ท23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ข้อมูลสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่าการจัดการเรียนรู้มุ่งเน้นให้นักเรียนได้เรียนตามเนื้อหาวิชา เน้นความรู้ความจำ นักเรียนไม่เห็นคุณค่าของการอ่าน ไม่ชอบอ่านหนังสือ โดยเฉพาะเนื้อเรื่องที่มีความยาวมากเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย และส่งผลให้นักเรียนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจเรื่องที่อ่าน ไม่สามารถคิดวิเคราะห์เรื่องที่อ่านได้ จึงทำให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยต่ำลง และขาดทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ความต้องการจะต้องพัฒนาวิธีการอ่านโดยการฝึกฝนจนเกิดทักษะสร้างนิสัยให้รักการอ่านและเป็นนักอ่านที่ดีให้แก่นักเรียน ช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความคิดและประสบการณ์จากการอ่านคิดวิเคราะห์
2. การจัดการเรียนรู้แบบวารุณีโมเดลร่วมกับเทคนิคการเสริมแรง เพื่อส่งเสริมทักษะ การอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย รหัส ท23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สาระหลัก และ เงื่อนไขในการนำไปใช้ โดยมีขั้นตอนใหญ่ 3 ขั้นตอน และขั้นตอนย่อย 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียม (1.1) การกำหนดจุดมุ่งหมาย (1.2) การปรับความเร็วในการอ่าน (1.3) ความจำเป็นในการตั้งคำถาม 2) ขั้นอ่าน (2.1) การสำรวจ (2.2) การคิดตาม (2.3) การจดบันทึก และ 3) ขั้นสรุป (3.1) การจำ (3.2) การประเมินผล เมื่อนำไปทดลองใช้กับนักเรียนแบบภาคสนาม จำนวน 40 คน พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.06/81.92 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวารุณีโมเดลร่วมกับเทคนิคการเสริมแรง เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย รหัส ท23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบวารุณีโมเดลร่วมกับเทคนิคการเสริมแรง เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ รายวิชาภาษาไทย รหัส ท23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด