ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะ
การคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย : นางนงค์รัตน์ หนูแก้ว
โรงเรียน : โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง
ปีการศึกษา : 2558
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย
1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังเรียน
ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง สำนักการศึกษา เทศบาลนคร จำนวน 40 คน รูปแบบการวิจัยที่ใช้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ซึ่งแบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบัน และความต้องการสำหรับการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมายเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราชจำนวน 11 คน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 40 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ขั้นตอนที่ 4 ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ มีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ อยู่ในระดับปานกลาง และครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ มีความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการทักษะคิดวิเคราะห์ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า OPPCE Model มีองค์ประกอบ คือ
1) ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบ ซึ่งมีขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น คือ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Orientation: O)
2 ขั้นการนำเสนอบทเรียน (Presentation of Learning: P) 3 ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อฝึกการคิดวิเคราะห์ (Practice of Analytical Thinking: P) จำนวน 4 ขั้น คือ (3.1) การกำหนดปัญหา (3.2) ฝึกคิดเป็นรายบุคคล (3.3) ฝึกคิดเป็นกลุ่มย่อย (3.4) การเสนอผลการคิดในกลุ่มใหญ่ 4 ขั้นทบทวนและสรุป (Conclusion: C) และ 5 ขั้นประเมินผล (Evaluation: E) 4) ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนรู้ตามรูปแบบ และ 5) การประเมินผลรูปแบบ รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์
ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.92/80.94 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80
3. ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัด การเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัด การเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมากที่สุด