การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษาแบบเน้นทักษะปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะกีฬาแบดมินตัน และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านทักษะกีฬาแบดมินตัน และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษาแบบเน้นทักษะปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะกีฬาแบดมินตัน และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษาแบบเน้นทักษะปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะกีฬาแบดมินตัน และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนจุมจังพลังราษฎร์ อำเภอ กุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ นักเรียนจำนวน 23 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นกลุ่ม (Cluster) ด้วยการจับสลากมา 1 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการสอนพลศึกษาแบบเน้นทักษะปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะกีฬาแบดมินตัน และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เอกสารประกอบการสอนแบดมินตัน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถด้านทักษะกีฬาแบบทดสอบวัดความสามารถด้านทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และ การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษาแบบเน้นทักษะปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะกีฬาแบดมินตัน และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นายสุนันท์ หิรัตพรม
หน่วยงาน โรงเรียนจุมจังพลังราษฎร์ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์
ปีที่พิมพ์ 2559
บทคัดย่อ
1. รูปแบบการเรียนการสอนนี้มีชื่อเรียกว่า มีชื่อเรียกว่า อาร์ดีพีพีเอเอส (RDPPAS Model) มี 7 องค์ประกอบหลัก 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) สาระหลัก 5) สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 6) ระบบสังคม และ 7) ระบบสนับสนุน รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อม (Readiness :R) 2) ขั้นอธิบายและสาธิต (Demonstration and Explanation : D) 3) ขั้นปฏิบัติทักษะย่อย (Practice Subskills : P) 4) ขั้นปฏิบัติให้ชำนาญ (Practice Expertise : P) 5) ขั้นประยุกต์ใช้ (Application : A) และ 6) ขั้นสรุป (Summarize : S) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการเรียนการสอน เท่ากับ 84.42/82.67 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ความสามารถด้านทักษะกีฬาแบดมินตัน และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษาแบบเน้นทักษะปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะกีฬาแบดมินตัน และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยความสามารถด้านทักษะกีฬาแบดมินตัน และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษาแบบเน้นทักษะปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านทักษะกีฬาแบดมินตัน และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนพึงพอใจต่อการสอนด้วยรูปแบบการสอนพลศึกษาแบบเน้นทักษะปฏิบัติ ด้านรูปแบบการเรียนการสอนมากที่สุด เพราะผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และแสวงหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียนเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติทักษะกีฬาแบดมินตันและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยตัวเอง และร่วมกันเรียนรู้กับผู้อื่น ครูเรียงลำดับเนื้อหาและกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม และนักเรียนสามารถสรุปความรู้ เชื่อมโยงนำไปไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
TITLE The Development of instructional model for physical education focus on practicing skills to promote the ability in badminton skills and critical thinking skills for Matthayomsuksa 1
AUTHOR Mr.Sunan Hiratprom
INSTITUTE Chumchangplangraj school, Kuchinarai District, kalasin province, Kalasin provincial administrative organization
YEAR 2016
ABSTRACT
The purposes of this study were: 1) to develop and evaluate the effective of
the instructional model for physical education focus on practicing skills to promote the
ability in badminton skills and critical thinking skills for Matthayomsuksa 1. 2) to compare the ability in badminton skills and critical thinking skills for Matthayomsuksa 1 before and after learning. 3) to study the students satisfaction towards to instructional model for physical education focus on practicing skills to promote the ability in badminton skills and critical thinking skills. The participants of this research was conducted under cluster random sampling, students of the sample used in this study were 23 students from Matthayomsuksa 1/1, who registered in this course in the second semester of the academic year 2015 in Chumchangplangraj school, Kuchinarai district, kalasin province, Kalasin provincial administrative organization.
The research instruments were the instructional model for physical education focus on practicing skills to promote the ability in badminton skills and critical thinking skills, supplementary sheet, lesson plans, evaluation form for the congruence of the instructional model, achievement test, abilities for badminton skills and critical thinking skills tests and students satisfaction towards the instructional model for physical education. Statistics comprised of mean scores (), standard deviation (S.D.), percentage (%), t-test dependent and content analysis.
The Results of the research were as follows:
1. The teaching style of this instruction model is called RDPPAS Model. There are seven factors :1) Principle 2) Aim 3) The process of learning4) Social5) Support 6) the response and 7) conditions applying patterns to include six steps:1) preparation of learning. (Preparation: P) 2) the situation (Study the situation: S) 3) share experience (Sharing with group: S) 4) the creation of new knowledge (Create new knowledge: C) 5) evaluation (Evaluate: E) and 6) to put the knowledge to use (Extension: E). The efficiency (E1/E2) of the teaching equal 84.42/82.67, compared with 80/80 had the value higher than the standard criteria.
2. The ability in badminton skills and critical thinking skills for Matthayomsuksa 1
taught by the instruction model for physical education focus on the practicing skills to promote the ability in badminton skills and critical thinking skills for Matthayomsuksa 1 before and after learning are difference statistically at the .05 level. The ability in badminton skills and critical thinking skills after learning were higher than before learning.
3. Satisfaction of Mattayomsuksa 1 students toward to the instructional model for physical education focus on the practicing skills to promote the ability in badminton skills and critical thinking skills found that students were satisfied with the overall the highest level. Students mostly satisfied with the instruction model which it focuses on the practicing. Because of the students can interact with the information from the various sources. Students learned to practice badminton skills and critical thinking skills by themselves. Learn and share with others. Teacher rearranges the content properly and students can conclude the information to link and use in their everyday life.