ชื่อผู้วิจัย นางรองรัตน์ วรสาร
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาโมเดล BBM ที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ และการคิดขั้นสูงของผู้เรียน 2) ศึกษาการคิดขั้นสูงของผู้เรียนที่เรียนด้วยโมเดล BB M 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเมื่อเรียนด้วยโมเดล BBM และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยโมเดลการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5 โรงเรียนบัวขาว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 45 คน รูปแบบการวิจัย คือ การวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental Research ) โดยแบ่งการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1) การพัฒนาโมเดล 2) การตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดล และ 3) การใช้โมเดล ได้เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการคิดขั้นสูงด้วยการวิเคราะห์โปรโตคอล (Protocol Analysis) รวมทั้งเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1) ผลการออกแบบและพัฒนาโมเดล BBM พบว่า
ระยะที่ 1 การพัฒนาโมเดล พบว่า โมเดลมีองค์ประกอบที่สำคัญ 7 องค์ประกอบ ได้แก่
สถานการณ์ปัญหา (Problem Base) คลังปัญญาภาษาน่ารู้ (Resources) ฐานความช่วยเหลือ (Scaffolding) การเรียนรู้ร่วมกัน (Collaboration) คลินิกภาษาอังกฤษ (English Skill Clinic) ห้องส่งเสริมการคิดขั้นสูง (Higher Order Thinking Support Room) และห้องปฏิบัติการทางภาษา (English Skill Laboratory)
ระยะที่ 2 การหาความตรงโมเดลฯ พบว่า โมเดลฯ มีความตรงภายในและมีความตรง
ภายนอก
ระยะที่ 3 การใช้โมเดลฯ พบว่า กระบวนการใช้โมเดลมี 4 ขั้น คือ (1) การนำเข้าสู่บทเรียน พบว่า การเชื่อมโยงความรู้ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี (2) การจัดกลุ่มผู้เรียน พบว่า จำนวนผู้เรียน 4-5คน ต่อกลุ่มมีความเหมาะสม ระยะเวลาในการเรียนประมาณ 60 นาที ต่อสถานการณ์ปัญหา (3) การเรียนรู้ด้วยโมเดล BBM พบว่า การเรียนรู้เริ่มด้วยการอธิบายวิธีการใช้องค์ประกอบต่าง ๆ ของโมเดลฯ พร้อมทั้งสาธิตขั้นตอนการใช้ และให้ผู้เรียนเริ่มเรียนจากสถานการณ์ปัญหา (4) การร่วมกันสรุปความรู้ พบว่า การร่วมกันสรุปความรู้เป็นการสะท้อนผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ดีมาก
2) ผลการศึกษาการคิดขั้นสูงของผู้เรียนที่เรียนด้วยโมเดล BBM ที่ส่งเสริมการสร้างความรู้และการคิดขั้นสูง พบว่า ผู้เรียนมีการคิดขั้นสูงตามกรอบแนวคิดของโลริน แอนดอร์สัน (Lorin Anderson) และเดวิด แครทโวทล์ (Devid Krathwohl) (2001) ที่มีการปรับปรุงมาจากทักษะการคิดของบลูม (Blooms Taxonomy Revised) ซึ่งประกอบด้วย วิเคราะห์ (Analyze) ประเมินค่า (Evaluating) และสร้างสรรค์ (Creating)
3) ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่เรียนด้วยโมเดล BBM ที่ส่งเสริมการสร้างความรู้และการคิดขั้นสูง พบว่า มีการออกแบบที่เหมาะสม ช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการคิดขั้นสูง ทั้งในด้านเนื้อหาการเรียนรู้ ด้านสื่อ และด้านการออกแบบที่ส่งเสริมการคิด
ขั้นสูง
4) ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยโมเดล BBM ที่ส่งเสริมการคิดขั้นสูงสำหรับผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80