การใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านปริก(กุก่องวิทยาคาร) มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1 ) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านปริก(กุก่อวิทยาคาร) อำเภอสะเดา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้การอ่านจับใจความ โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านปริก(กุก่อวิทยาคาร) อำเภอสะเดา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำนวน 22 คน ได้มาโดยการเลือกสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ
1 )แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ
2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แต่ละเล่ม
3)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pre-test Post-test Design เสริมพงศ์ วงศ์กมลาไสย (2548 : 57) สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1) การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนบ้านปริก(กุก่อวิทยาคาร) อำเภอสะเดา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 พบว่า มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 78.12/84.42 ซึ่งประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ โดยความผิดพลาดที่ยอมรับได้ไม่เกินร้อยละ 2.5 จากเกณฑ์ที่กำหนด (สมนึก ภัททิยธนี, 2548: 99)
2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้การอ่านจับใจความ โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า คะแนนเฉลี่ยการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ 11.13 คิดเป็นร้อยละ 55.65 สำหรับการทดสอบหลังเรียน เท่ากับ 17.15 คิดเป็นร้อยละ 85.76 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการอ่านจับใจความสูงขึ้น
3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียน โดยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับพอใจมากมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.28 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) มีค่าเท่ากับ 0.48 สำหรับผลการประเมินรายข้อ ปรากฏว่า ข้อ 5) มีแบบฝึกการอ่านที่หลากหลายทำให้ได้พัฒนาการอ่านจับใจความได้ดียิ่งขึ้นและข้อ6) มีเฉลยที่สามารถตรวจคำตอบได้ทันทีทำให้ทราบความก้าวหน้าและความบกพร่องของตนเองมีผลการประเมินสูงกว่าข้ออื่น คือ มีผลการประเมินอยู่ในระดับพอใจมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย ท่ากับ 4.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) มีค่าเท่ากับ 0.47 และข้อ1) แบบฝึกเสริมทักษะมีรูปเล่มสวยงามน่าเปิดอ่านมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีผลการประเมินอยู่ในระดับพอใจมากมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) มีค่าเท่ากับ 0.71