การพัฒนารูปแบบการนิเทศ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โรงเรียนวังน้ำเขียวพิทยาคม
ผู้วิจัย นายพิชิต จรูญกิจพิศาล ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนวังน้ำเขียวพิทยาคม
ปีที่พิมพ์ 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โรงเรียนวังน้ำเขียวพิทยาคม 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครู ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โรงเรียน
วังน้ำเขียวพิทยาคม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูโรงเรียนวังน้ำเขียวพิทยาคม จำนวน 32 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่า t-test แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการนิเทศ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครู ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โรงเรียนวังน้ำเขียวพิทยาคม มีองค์ประกอบ 8 องค์ประกอบ คือ ความเป็นมาและความสำคัญของรูปแบบ หลักการของรูปแบบ ลักษณะสำคัญของรูปแบบ วัตถุประสงค์ โครงสร้างเนื้อหา กระบวนการนิเทศ การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของรูปแบบ เป้าหมายและสภาพ
การบรรลุเป้าหมาย ลักษณะสำคัญของรูปแบบ ชื่อว่า พีทีทีซีอาร์ (PTTCR Model) ประกอบด้วยกระบวนการ 5 ขั้น คือ การวางแผน (Planning) การอบรม (Training) การปฏิบัติ (Take Action) การให้คำปรึกษา (Couching) และการสะท้อนผล (Reflection) โดยมีค่าเฉลี่ยดัชนีความสอดคล้องของรูปแบบตามมาตรฐาน โดยภาพรวมเท่ากับ 0.89 และเมื่อพิจารณาเป็นรายมาตรฐาน พบว่า มาตรฐานการใช้ประโยชน์ เท่ากับ 0.91 มาตรฐานความเป็นไปได้ เท่ากับ 0.80 มาตรฐาน
ความเหมาะสม เท่ากับ 0.90 และมาตรฐานความถูกต้อง เท่ากับ 0.90
2. การศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครู ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โรงเรียนวังน้ำเขียวพิทยาคม พบว่า 1) ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ
2) สมรรถนะครูด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.09 ,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความรู้ความเข้าใจการวิจัย เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.03, = 0.91) ด้านการปฏิบัติการวิจัย เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.08 ,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =0.97) และด้านจิตวิจัย เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.16, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =0.94) 3) ผลงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของครูมีคุณภาพตั้งแต่ระดับดี ถึง ระดับดีมาก จำนวน 23 เรื่อง จากทั้งหมด 32 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 71.87 4) ความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบการนิเทศ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครู ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.19, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.43) และ 5) รูปแบบการนิเทศฯ มีประสิทธิภาพตามมาตรฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.41, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.31 และเมื่อพิจารณาเป็นรายมาตรฐาน พบว่า มาตรฐานการใช้ประโยชน์ และมาตรฐานความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.56, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =0.44 , ค่าเฉลี่ย = 4.52, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =0.34) ส่วนมาตรฐานความเป็นไปได้ และมาตรฐานความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.18 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.59 , ค่าเฉลี่ย = 4.17,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.48)