คำสำคัญ : คอมพิวเตอร์ช่วยสอน/สนุกกับแรงและพลังงาน
นายนพดล จิตอมรพรรณา : การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสนุกกับแรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์)
ปีที่ศึกษา : 2559
รายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสนุกกับแรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และหาประสิทธิ ภาพตามเกณฑ์ 80 /80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนโดยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสนุกกับแรงและพลังงาน ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสนุกกับแรงและพลังงาน
กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์) สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 30 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองจำนวน 18 ชั่วโมง รูปแบบที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development) โดยใช้แบบแผนการศึกษาแบบ One group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อนำไปสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสนุกกับแรงและพลังงาน และผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสนุกกับแรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 3) แบบทดสอบวัดผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้จากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสนุกกับแรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสนุกกับแรงและพลังงาน
การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า
1. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสนุกกับแรงและพลังงาน ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และด้านการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เสนอแนะว่า บทเรียนควรมีทักษะภาษาด้านการอ่าน การเขียน และการปฏิบัติไปพร้อมๆ กันบทเรียนประกอบด้วยสื่อมัลติมีเดียให้มีความหลากหลายมีแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสนุกกับแรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.75/86.83 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มทดลองหลังได้รับการสอน ( ค่าเฉลี่ย = 23.86, S.D. = 1.68) สูงกว่าก่อนได้รับการสอน ( ค่าเฉลี่ย = 16.86, S.D. = 3.00) , สถิติทดสอบที (t-test) = 14.71 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลด้านความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสนุกกับแรงและพลังงาน สรุปผลในภาพรวมความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น มีค่าอยู่ในระดับมาก