บุษกร ปิยาทร : การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้วิธีสอน SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
รายงานการพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่าน
จับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้วิธีสอน SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้วิธีสอน SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผล ของการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะ
การอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้วิธีสอน SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจ
ความสำคัญ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อหาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ หลังจากนักเรียนได้รับการสอนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ
โดยใช้วิธีสอน SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มทดลองเป็นนักเรียน โรงเรียนอ่างศิลา อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 การเลือกกลุ่มทดลอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ได้มา จำนวน 1 ห้องเรียน ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5/1 จำนวนทั้งหมด 32 คน โดยได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random sampling) แบบเป็นกลุ่มห้องเรียน จากห้องที่โรงเรียนได้มอบหมายให้ผู้ศึกษาค้นคว้า
เป็นผู้รับผิดชอบการสอนเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยที่ผู้ศึกษาค้นคว้าเป็น
ผู้ดำเนินการทดลองด้วยตนเอง ใช้เวลาในการสอน 19 ชั่วโมง แบบแผนการทดลอง
แบบ One-Group Pretest-Posttest Designวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ t-test for Paired Samples และค่าสถิติ t-test One Sample
ผลการศึกษาค้นคว้า
1. ประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้วิธีสอน SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 โดยมีค่าประสิทธิภาพ 83.44/87.60 แสดงว่า แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย โดยใช้วิธีสอน SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้วิธีสอน SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการสอน
ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้วิธีสอน SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะ
การอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนการเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้วิธีสอน SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01
3. ดัชนีประสิทธิผล ของการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจ
ความสำคัญ โดยใช้วิธีสอน SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 1.2854 หรือคิดเป็นร้อยละ 128.54
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ หลังจากนักเรียนได้รับการสอน
ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้วิธีสอน SQ4R ร่วมกับแบบฝึกทักษะ
การอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งพบว่าค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของนักเรียนในภาพรวมโดยส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.19 ,
S.D. = 0.35) และคิดเป็นเฉลี่ยรวมเป็นร้อยละ 83.80 ความพอใจที่สูงที่สุดอันดับ 1
คือ ข้อ 3.2 วิธีการเรียนรู้ช่วยให้นักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้( = 4.66,
S.D. = 0.47 ) ความพึงพอใจลำดับรองลงมาอันดับ 2 คือ ข้อ 3.3. เป็นวิธีการที่ส่งเสริม
ให้ท่านได้มีการค้นหาความรู้และแนวทางการแก้ปัญหาการอ่านจับใจความสำคัญที่ถูกต้องด้วยตนเอง( = 4.63 ,S.D. = 0.48) ความพึงพอใจลำดับรองลงมาอันดับ 3
คือ ข้อ 4.1 การเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้ร่วมกับรูปแบบ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ SQ4R ทำให้นักเรียนมีความรู้ใน เรื่อง การอ่านจับใจ
ความสำคัญ( = 4.56 ,S.D. = 0.61) และที่เหลือทั้งหมดของความพอใจส่วนใหญ่
มีระดับความพึงพอใจอื่นๆ อยู่ในระดับมากซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้