ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับเทคนิค KWL Plus เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน
อย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางวราภรณ์ แก้วเขียวงาม ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี อำเภอกันทรลักษ์
จังหวัดศรีสะเกษ องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
...............................................................................................................................................................................................................................
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 3 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 90 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 1 ห้องเรียน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสอบถามความคิดเห็นและความต้องการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentages) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบ t แบบไม่อิสระ (Dependent)
การดำเนินการวิจัยดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอนคือขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research ) เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development) เป็นการสร้างและพัฒนาหาคุณภาพและประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาพัฒนาเป็นกรอบแนวคิดโครงร่างของรูปแบบ ซึ่งสาระสำคัญของรูปแบบประกอบ ด้วย 1) ความเป็นมา
2) แนวคิดพื้นฐาน 3) หลักการและจุดมุ่งหมาย 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 5) ข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบไปใช้แล้วให้เพื่อนครูและผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบคุณภาพของโครงร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้และเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ
ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.46/81.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ร่วมกับ เทคนิค KWL Plus เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 มีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72, S.D.= 0.50 )