แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง วัสดุและสมบัติของวัสดุ เวลา 26 ชั่วโมง
ชุดที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน เวลา 2 ชั่วโมง
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้าง และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
ป.5/1 ทดลองและอธิบายสมบัติของวัสดุชนิดต่าง ๆ เกี่ยวกับความยืดหยุ่น ความแข็ง ความเหนียว การนำความร้อน การนำไฟฟ้า และความหนาแน่น
ป.5/2 สืบค้นข้อมูลและอภิปรายการนำวัสดุไปใช้ในชีวิตประจำวัน
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหา
ความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถ
อธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ตัวชี้วัด
ป.5/1 ตั้งคำถาม เกี่ยวกับประเด็น หรือเรื่อง หรือสถานการณ์ ที่จะศึกษา ตามที่กำหนดให้และตามความสนใจ
ป.5/2 วางแผนการสังเกต เสนอการสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้า และคาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการสำรวจตรวจสอบ
ป.5/3 เลือกอุปกรณ์ที่ถูกต้องเหมาะสมในการสำรวจ ตรวจสอบให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้
ป.5/4 บันทึกข้อมูลในเชิงปริมาณและคุณภาพและตรวจสอบผลกับสิ่งที่คาดการณ์ไว้ นำเสนอผลและข้อสรุป
ป.5/5 สร้างคำถามใหม่เพื่อการสำรวจตรวจสอบต่อไป
ป.5/6 แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ อธิบาย และสรุปสิ่งที่ได้ เรียนรู้
ป.5/7 บันทึกและอธิบายผลการสำรวจ ตรวจสอบตามความเป็นจริง มีการอ้างอิง
ป.5/8 นำเสนอ จัดแสดง ผลงาน โดยอธิบายด้วยวาจา หรือเขียนอธิบายแสดงกระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
2. สาระสำคัญ
วัสดุต่าง ๆ ที่เราใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันมีทั้งวัสดุธรรมชาติ ได้แก่ ยางพารา หิน ดิน ทราย ไม้ ใยไหม ใยฝ้าย ขนสัตว์ และโลหะต่าง ๆ เป็นต้น ส่วนวัสดุสังเคราะห์ ได้แก่ พลาสติก ไม้สังเคราะห์ หินสังเคราะห์ ยางสังเคราะห์ และเส้นใยสังเคราะห์ เป็นต้น โดยวัสดุมี 3 ประเภท ได้แก่ โลหะ เซรามิก และพอลิเมอร์ ซึ่งวัสดุต่างชนิดกัน จะมีสมบัติบางประการแตกต่างกัน ดังนั้นการนำวัสดุต่าง ๆ มาใช้ทำสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน จึงต้องคำนึงถึงสมบัติของวัสดุนั้น ๆ ตามความเหมาะสม
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
1. สามารถจำแนกประเภทของวัสดุได้
2. บอกชื่อวัสดุที่นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีความสามารถ
1. การสังเกต
2. การจัดกระทำ และการสื่อความหมายข้อมูล
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ใฝ่เรียนรู้
2. มุ่นมั่นในการทำงาน
ด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
4. สาระการเรียนรู้
1. ประเภทของวัสดุ
2. การนำวัสดุไปใช้ในชีวิตประจำวัน
5. ชิ้นงาน/ภาระงาน
1. แบบบันทึกผลการเรียนรู้
- ขั้นสร้างความสนใจ
- ขั้นสำรวจและค้นหา
- ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
- ขั้นขยายความรู้
2. ใบบันทึกผลการเรียนรู้กิจกรรมที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
6. การวัดและประเมินผล
6.1 วิธีการวัดและประเมินผล
วิธีการวัดและประเมินผล เครื่องมือวัดและประเมินผล
- สังเกตการใช้
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ - แบบสังเกตการใช้
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- ตรวจใบบันทึกผลการเรียนรู้กิจกรรม - แบบบันทึกผลการเรียนรู้กิจกรรม
- ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน - แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน
6.2 เกณฑ์การประเมิน
1. ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียนชุดที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน ตามเกณฑ์การประเมิน ดังนี้ (คะแนนเต็ม 10 คะแนน) ตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดหรือไม่ตอบได้ 0 คะแนน
ผู้ผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้คะแนนร้อยละ 50 ขึ้นไป คือ ได้คะแนน 5 คะแนน ขึ้นไป
2. ตรวจใบบันทึกผลการเรียนรู้กิจกรรมที่ 1 ชุดที่ 1 เรื่องวัสดุในชีวิตประจำวัน ตามเกณฑ์การประเมิน ดังนี้ (คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ผู้ผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้คะแนนร้อยละ 50 ขึ้นไป คือ ได้คะแนน 5 คะแนน ขึ้นไป
คำถาม
ข้อที่ รายละเอียดการให้คะแนน ระดับคะแนน คะแนนเต็ม
10 คะแนน
1
ตอบความหมายได้ถูกต้องตรงประเด็น สมบูรณ์ ชัดเจน
ยกตัวอย่างได้ถูกต้อง 3 ชนิด 2
2
ตอบความหมายได้ถูกต้องค่อนข้างมาก หรือ
ยกตัวอย่างได้ถูกต้อง 1 - 2 ชนิด 1
ไม่ตอบหรือตอบผิด 0
2
ตอบความหมายได้ถูกต้องตรงประเด็น สมบูรณ์ ชัดเจน
ยกตัวอย่างได้ถูกต้อง 3 ชนิด 2
2
ตอบความหมายได้ถูกต้องค่อนข้างมาก หรือ
ยกตัวอย่างได้ถูกต้อง 1 - 2 ชนิด 1
ไม่ตอบหรือตอบผิด 0
3
(3.1-3.3)
3 ข้อ ตอบลักษณะของวัสดุได้ถูกต้องตรงประเด็น สมบูรณ์ ชัดเจน พร้อมยกตัวอย่างได้ถูกต้อง 3 ชนิด 2
6
ตอบลักษณะของวัสดุได้ถูกต้องค่อนข้างมาก หรือ
ยกตัวอย่างได้ถูกต้อง 1 - 2 ชนิด 1
ไม่ตอบหรือตอบผิด 0
3. ตรวจแบบทดสอบหลังเรียนชุดที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน ตามเกณฑ์การประเมิน ดังนี้ (คะแนนเต็ม 10 คะแนน) ตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดหรือไม่ตอบได้ 0 คะแนน
ผู้ผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้คะแนนร้อยละ 50 ขึ้นไป คือ ได้คะแนน 5 คะแนน ขึ้นไป
7. กิจกรรมการเรียนรู้ (กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้)
กระบวนการจัดการเรียนรู้
1. ขั้นเกริ่นนำ
1.1 ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ ชุดที่ 1 วัสดุในชีวิตประจำวัน
1.2 นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ชุดที่ 1 วัสดุในชีวิตประจำวัน
2. ขั้นเรียนรู้
2.1 ขั้นสร้างความสนใจ
1. ครูให้นักเรียนสังเกตสิ่งของต่าง ๆ ที่เป็นของจริงซึ่งครูเตรียมมา ได้แก่ ยางลบ ตะปู แก้วกาแฟ สมุด ผ้าเช็ดมือ กระบอกน้ำ แก้วน้ำ และช้อน แล้วนำสนทนาซักถามนักเรียนว่า สิ่งของต่าง ๆ เหล่านี้ทำมาจากอะไร แล้วให้นักเรียนแต่ละคนบันทึกผลการสังเกตลงในแบบบันทึกผลการเรียนรู้ที่ 1 (ขั้นสร้างความสนใจ) เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
2. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลการสังเกตสิ่งของต่าง ๆ ว่าสิ่งของแต่ละชนิดทำมาจากอะไรบ้าง ได้แก่ ยางลบ ทำมาจากยาง ตะปู ช้อน ทำมาจากเหล็ก แก้วกาแฟ ทำมาจากดิน สมุด ทำมาจากไม้ ผ้าเช็ดมือ ทำมาจากผ้า กระบอกน้ำ ทำมาจากพลาสติก และแก้วน้ำ ทำมาจากแก้ว
3. ครูสนทนาซักถามนักเรียนว่านอกจากสิ่งของที่ครูเตรียมมาให้แล้ว ยังมีอะไร อีกบ้าง และสิ่งของแต่ละอย่างทำมาจากอะไร นักเรียนอยากรู้หรือไม่ ถ้านักเรียนอยากรู้ลองไปสำรวจกันว่าสิ่งของต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราทำมาจากอะไร
2.2 ขั้นสำรวจและค้นหา
1. ครูให้นักเรียนสังเกตสิ่งของต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวในห้องเรียน เพื่อสังเกตดูว่าสิ่งของต่าง ๆ เหล่านั้น แต่ละชนิดทำมาจากอะไร โดยให้นักเรียนแต่ละคนบันทึกผลการสำรวจและค้นหาลงในแบบบันทึกผลการเรียนรู้ที่ 2 (ขั้นสำรวจและค้นหา) เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
2. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการสำรวจและค้นหาสิ่งของต่าง ๆ ว่าทำมาจากอะไรบ้าง
3. ครูนำนักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้เพิ่มเติม เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน โดยให้นักเรียนอ่านพร้อม ๆ กัน
2.3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
1. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการศึกษาใบความรู้ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน ว่าวัสดุต่าง ๆ ที่เราใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันมีทั้งวัสดุธรรมชาติ ได้แก่ หิน ดิน ไม้ ทราย ขนสัตว์ ใยฝ้าย ใยไหม ยางพารา และโลหะต่าง ๆ เป็นต้น ส่วนวัสดุสังเคราะห์ ได้แก่ พลาสติก ไม้สังเคราะห์ หินสังเคราะห์ ยางสังเคราะห์ และเส้นใยสังเคราะห์ เป็นต้น โดยวัสดุมี 3 ประเภท ได้แก่ โลหะ เซรามิก และพอลิเมอร์ ซึ่งวัสดุต่างชนิดกัน จะมีสมบัติบางประการแตกต่างกัน ดังนั้นการนำวัสดุ ต่าง ๆ มาใช้ทำสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน จึงต้องคำนึงถึงสมบัติของวัสดุนั้น ๆ ตาม ความเหมาะสม
2. นักเรียนแต่ละคนสรุปผลการเรียนรู้ที่ได้จากการศึกษา เรื่องวัสดุในชีวิตประจำวัน ลงในแบบบันทึกผลการเรียนรู้ที่ 3 (ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป) เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน โดยสรุปเป็นผังความคิด Mind Mapping
2.4 ขั้นขยายความรู้
นักเรียนแต่ละคนนำผลการเรียนรู้ที่ได้รับจากการเรียน เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน มาขยายความรู้เพิ่มเติมโดยการให้ยกตัวอย่างการนำวัสดุไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน แล้วบันทึกผลการเรียนรู้ลงในแบบบันทึกผลการเรียนรู้ที่ 4 (ขั้นขยายความรู้) เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน จากนั้นให้ตัวแทนกลุ่มออกนำเสนอผลงานหน้าชั้น แล้วนำผลงานต่าง ๆ เหล่านั้นไปติดตรงป้ายแสดงผลงานหน้าห้องเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
2.5 ขั้นประเมิน
1. นักเรียนทำใบบันทึกผลการเรียนรู้กิจกรรมที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
2. ครูตรวจใบบันทึกผลการเรียนรู้กิจกรรมที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
3. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนชุดที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
4. ครูตรวจแบบทดสอบหลังเรียนชุดที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
8. สื่อและแหล่งเรียนรู้
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
2. วัสดุตัวอย่าง ได้แก่ ยางลบ ตะปู แก้วกาแฟ สมุด ผ้าเช็ดมือ กระบอกน้ำ แก้วน้ำ และช้อน
3. วัสดุต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
ข้อคิดเห็น/ และข้อเสนอแนะของรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
ลงชื่อ
.
..
(นางจิตรี จงจิตร)
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสะบารัง
ข้อคิดเห็น/ และข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษา
ลงชื่อ
.
..
(นายอาทร แววสง่า)
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสะบารัง
บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ชุดที่ 1 วัสดุในชีวิตประจำวัน
1. ผลหลังการจัดการเรียนรู้
หลังจากการจัดการเรียนรู้ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน ผลการประเมินปรากฏดังต่อไปนี้
1.1 ด้านความรู้
- ทดสอบก่อนเรียน ชุดที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
นักเรียนทั้งหมด จำนวน 33 คน
ระดับดี จำนวน .... คน คิดเป็นร้อยละ ....
ระดับพอใช้ จำนวน .... คน คิดเป็นร้อยละ ....
ระดับปรับปรุง จำนวน .... คน คิดเป็นร้อยละ .... - บันทึกผลการเรียนรู้กิจกรรมที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
นักเรียนทั้งหมด จำนวน 33 คน
ระดับดี จำนวน .... คน คิดเป็นร้อยละ ....
ระดับพอใช้ จำนวน .... คน คิดเป็นร้อยละ ....
ระดับปรับปรุง จำนวน .... คน คิดเป็นร้อยละ ....
- ทดสอบหลังเรียน ชุดที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
นักเรียนทั้งหมด จำนวน 33 คน
ระดับดี จำนวน .... คน คิดเป็นร้อยละ ....
ระดับพอใช้ จำนวน .... คน คิดเป็นร้อยละ ....
ระดับปรับปรุง จำนวน .... คน คิดเป็นร้อยละ ....
1.2 ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
นักเรียนทั้งหมด จำนวน 33 คน
ระดับดี จำนวน .... คน คิดเป็นร้อยละ ....
ระดับพอใช้ จำนวน .... คน คิดเป็นร้อยละ ....
ระดับปรับปรุง จำนวน .... คน คิดเป็นร้อยละ ....
1.3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์
นักเรียนทั้งหมด จำนวน 33 คน
ระดับดี จำนวน .... คน คิดเป็นร้อยละ ....
ระดับพอใช้ จำนวน .... คน คิดเป็นร้อยละ ....
ระดับปรับปรุง จำนวน .... คน คิดเป็นร้อยละ .... 1.4 ด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
นักเรียนทั้งหมด จำนวน 33 คน
ระดับดี จำนวน .... คน คิดเป็นร้อยละ ....
ระดับพอใช้ จำนวน .... คน คิดเป็นร้อยละ ....
ระดับปรับปรุง จำนวน .... คน คิดเป็นร้อยละ ....
2. ปัญหาและอุปสรรค
.
.
.
.
3. ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข
.
.
.
.
.
.
ลงชื่อ
.
ครูผู้สอน
(นางจีรพันธ์ อุ่นอก)
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
..
../
สิงหาคม
/...2558...
ภาคผนวกท้ายแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
ชุดที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
1. แบบทดสอบก่อนเรียน ชุดที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
2. กระดาษคำตอบ ชุดที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
3. เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน ชุดที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
4. แบบบันทึกคะแนนทดสอบก่อนเรียน ชุดที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
5. เกณฑ์การประเมินแบบทดสอบก่อนเรียน ชุดที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
6. แบบบันทึกผลการเรียนรู้ ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นสำรวจและค้นหา ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป และขั้นขยายความรู้
7. ใบความรู้ ชุดที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
8. ใบบันทึกผลการเรียนรู้กิจกรรมที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
9. เฉลยใบบันทึกผลการเรียนรู้กิจกรรมที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
10. ตารางเกณฑ์การประเมินใบบันทึกผลการเรียนรู้กิจกรรมที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
11. แบบบันทึกคะแนนการตรวจผลงานนักเรียน ใบบันทึกผลการเรียนรู้กิจกรรมที่ 1 เรื่อง วัสดุ ในชีวิตประจำวัน
12. เกณฑ์การประเมินใบบันทึกผลการเรียนรู้กิจกรรมที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
13. แบบบันทึกการประเมินด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
14. เกณฑ์การประเมินด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
15. แบบบันทึกการประเมินด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
16. เกณฑ์การประเมินด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
17. แบบบันทึกการประเมินด้านสมรรถนะของผู้เรียน
18. เกณฑ์การประเมินด้านสมรรถนะของผู้เรียน
19. แบบทดสอบหลังเรียน ชุดที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
20. เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน ชุดที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
21. แบบบันทึกคะแนนทดสอบหลังเรียน ชุดที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
22. เกณฑ์การประเมินแบบทดสอบหลังเรียน ชุดที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน
23. ตารางเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน
24. ผลงานนักเรียน ชุดที่ 1 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน