ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์
และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบ TAI
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นายถนอมชัย ลักษโณสุรางค์
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด
สังกัดเทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบ TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบ TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบ TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบ TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด สังกัดเทศบาลเมืองพัทลุง จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 36 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 18 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มี 4 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ประกอบการจัดการเรียนรู้เรียนรู้แบบ TAI จำนวน 18 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวมเวลา 18 ชั่วโมง มีค่าความเหมาะสม เฉลี่ยเท่ากับ 4.77 อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด แบบฝึกทักษะ การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 เล่ม ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้แบบ TAI จำนาน 18 แผน มีค่าความเหมาะสม เฉลี่ยเท่ากับ 4.72 อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก เพื่อใช้วัดความรู้ความเข้าใจในการเรียนรู้ของนักเรียน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 20 ข้อ ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงตั้งแต่ .60 ถึง 1.00 มีค่าความยากตั้งแต่ .48 ถึง .80 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .27 ถึง .70 และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเหมาะสม เฉลี่ยเท่ากับ 4.76 อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
คือ ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และ
ตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบ TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 84.54/83.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2) ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบ TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.6738 ซึ่งแสดงว่า นักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบ TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ความรู้เพิ่มขึ้น 0.6738 หรือคิดเป็นร้อยละ 67.38
3) นักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบ TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบ TAI กลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แบบฝึกทักษะและวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ TAI เป็นวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการใช้สื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย เน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญกระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้ของนักเรียนแบบกลุ่มร่วมมือช่วยรายบุคคล เน้นทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การฝึกทักษะ การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การคิดคำนวณ และการร่วมกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม จึงสมควรส่งเสริมให้ครูใช้แบบฝึกทักษะเป็นสื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อไป