ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวในท่อนไม้ เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางพิสมัย แบบทอง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านคูขาด (สถิตย์อุปถัมภ์) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวในท่อนไม้ เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวในท่อนไม้ เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านคูขาด (สถิตย์อุปถัมภ์) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวในท่อนไม้ เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้าน คูขาด (สถิตย์อุปถัมภ์) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวในท่อนไม้ เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านคูขาด (สถิตย์อุปถัมภ์) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น (4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวในท่อนไม้ เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านคูขาด (สถิตย์อุปถัมภ์) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นเกี่ยวกับทักษะด้านอาชีพ รวมทั้งผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวในท่อนไม้และ ทักษะชีวิตและอาชีพ 4.1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวในท่อนไม้ เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ก่อนและหลังการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวในท่อนไม้ เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4.2) เปรียบเทียบทักษะอาชีพก่อนและหลังการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาในท้องถิ่น เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวในท่อนไม้ เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4.3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาในท้องถิ่นเรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวในท่อนไม้ เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 /1 จำนวน 20 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านคูขาด (สถิตย์อุปถัมภ์) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) คู่มือครูสำหรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ (2) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาว ในท่อนไม้ เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 12 แผน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ (4) แบบสังเกตพฤติกรรม (5) แบบประเมินด้านทักษะอาชีพ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ( ) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ร้อยละ และ ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ (t - test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวในท่อนไม้ เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบ 4 ขั้นตอน ดังนี้
1.1 ขั้นจุดประกายแนวคิด (Stimulation) เป็นขั้นที่นักเรียนได้รับการกระตุ้นให้สนใจ ด้วยสื่อที่เป็นของจริง การศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ โดยให้นักเรียนใช้เหตุผลและสืบค้น แสวงหาความรู้เพื่อให้ได้คำตอบนั้น
1.2 ขั้นร่วมด้วยช่วยกันคิด (Cooperation) เป็นขั้นที่ให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก กลุ่มละ 4-5 คนเพื่อร่วมกันค้นหาคำตอบของกลุ่มจากการพูดคุย แลกเปลี่ยนความพึงพอใจ พิจารณา ข้อมูลที่ได้รับโดยใช้ประสาทสัมผัสในการสำรวจ สังเกต หรือทดลองและสรุปข้อมูล ซึ่งครูจะเข้าไปช่วยเหลือแนะน่าเมื่อนักเรียนเกิดปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือ
1.3 ขั้นนำเสนอแนวความคิด (Presentation) เป็นขั้นที่นักเรียนนำเสนอผลการเรียนรู้ จากสิ่งที่ค้นพบโดยการออกมาเล่าหน้าชั้นเรียนจัดแสดงผลงานของกลุ่มบนป้ายนิเทศหรือ มุมแสดงผลงาน แลกเปลี่ยน เรียนรู้กับเพื่อนกลุ่มอื่น
1.4 ขั้นประยุกต์แนวคิดและนำไปใช้ (Application) เป็นขั้นที่นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ โดยครูใช้คำถามให้นักเรียนหาคำตอบจากเหตุการณ์ใหม่ที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์เดิมซึ่งนักเรียนตอบได้ หลากหลายวิธี เช่น การเล่าหรือสร้างผลงานใหม่ ครูสังเกตการให้เหตุผลของนักเรียน ในการนำ ความรู้หรือประสบการณ์ที่ได้รับมาใช้ในสถานการณ์ใหม่
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวในท่อนไม้เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00- 4.80) และความคิดเห็นของครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวในท่อนไม้เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลประเมินโดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 2.70, S.D. = 0.47)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวในท่อนไม้ เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ของนักเรียน นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 มีทักษะอาชีพและผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวในท่อนไม้ เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทำให้นักเรียนมีทักษะอาชีพและผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวในท่อนไม้ เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้
1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีทักษะอาชีพหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวในท่อนไม้ เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการเรียนรู้หลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวในท่อนไม้ เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวในท่อนไม้เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การเพาะเห็ดขอนขาวในท่อนไม้ เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก