ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน วิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทเป่า (ศ20204) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย นายสุกิตติ์ กูมุดา ตำแหน่ง ครู วิทยาฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนวิเชียรมาตุ 2 อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ปีที่วิจัย 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1.) สร้างเอกสารประกอบการเรียน วิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทเป่า (ศ20204) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2.) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการใช้เอกสารประกอบการเรียน วิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทเป่า (ศ20204) 3.) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน วิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทเป่า
(ศ20204) กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนโรงเรียนวิเชียรมาตุ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2558 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1.) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทเป่า (ศ 20204) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2.) เอกสาร-ประกอบการเรียน วิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทเป่า (ศ20204) สำหรับนักเรียนชั้น-มัธยมศึกษาปีที่ 2 3.) แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน วิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทเป่า (ศ20204) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Samples
ผลการศึกษาพบว่า
1) ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนวิชา ปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทเป่า (ศ20204) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 87.59/87.72 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีประเภทเป่า (ศ20204) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้เอกสารประกอบการเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าก่อนการใช้เอกสารประกอบการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) ผลการประเมินเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เจตคติของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวม ( ) เท่ากับ 3.94 ค่าเบี่ยงเบน-มาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.70 เมื่อเทียบกับเกณฑ์การพิจารณาเจตคติ พบว่านักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีเจตคติที่ดีต่อเอกสารประกอบการเรียน