ชื่อเรื่อง : การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เพื่อพัฒนาการทำงานเป็นกลุ่ม
วิชาการงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย : นายถาวรณ์ วังสำเภา
หน่วยงาน : โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่วิจัย : ปีการศึกษา 2557 - 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เพื่อพัฒนาการทำงานเป็นกลุ่ม วิชาการงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการทำงานเป็นกลุ่มของนักเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เพื่อพัฒนาการทำงานเป็นกลุ่ม วิชาการงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เพื่อพัฒนาการทำงานเป็นกลุ่ม วิชาการงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เพื่อพัฒนา การทำงานเป็นกลุ่ม วิชาการงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ขั้นตอนที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียน 1 ปีการศึกษา 2558จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD จำนวน 9 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 40 ข้อ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแต่ละชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดละ 10 ข้อ แบบประเมินการทำงานเป็นกลุ่ม แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่า E1/ E2 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 การทดสอบค่าที (t-test dependent samples) และวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เพื่อพัฒนาการทำงานเป็นกลุ่ม วิชาการงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 82.07/81.58
2. ผลการศึกษากระบวนการทำงานกลุ่มวิชาการงานอาชีพ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD นักเรียนมีกระบวนการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับดีมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 22.03 คิดเป็นร้อยละ 81.60 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.07
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เพื่อพัฒนาการทำงานเป็นกลุ่ม วิชาการงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เพื่อพัฒนาการทำงานเป็นกลุ่ม วิชาการงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.54
ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีในการพัฒนาการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD และเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในการนำผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อไป