ชื่อเรื่อง โครงการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านโคกทุ่งน้อย อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2
ปีที่ศึกษา 2559
ผลการประเมินพัฒนา
การดำเนินงานตามโครงการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านโคกทุ่งน้อย ได้ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน สรุปผลการดำเนินการได้ดังนี้
การพัฒนาด้านอาคารสถานที่
๑. พัฒนาห้องน้ำ ห้องส้วม
ก่อนการพัฒนา
๑. การกำกับ ติดตาม ประเมินผลผู้รับผิดชอบในการดูแลรักษาห้องน้ำห้องส้วมเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง
๒. พื้น ผนัง ห้องน้ำและอ่างล้างมือบางส่วนชำรุด ไม่สามารถใช้งานให้เกิดความปลอดภัยได้อย่างต่อเนื่อง
๓. ห้องน้ำห้องส้วม ยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ส้วมสาธารณะ ระดับประเทศ (HAS) ทุกข้อ
หลังการพัฒนา
๑. มีการติดตามตรวจสอบประเมินผลการดูแลรักษาห้องน้ำห้องส้วมอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอยู่เสมอ
๒. พื้น ผนัง ห้องน้ำและอ่างล้างมือมีการปรับปรุงให้สะอาด สวยงาม แข็งแรง สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง
๓. ห้องน้ำ ห้องส้วม มีความสะอาด ถูกสุขลักษณะและผ่านเกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ (HAS)
๔. ครู นักเรียนและบุคลากรได้ใช้ห้องน้ำห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
๕. ครู นักเรียนและบุคลากรสามารถนำพฤติกรรมการใช้ห้องน้ำห้องส้วมไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย
๒. พัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน
ก่อนการพัฒนา
๑. ครูผู้รับผิดชอบการกำกับดูแลเรื่องความสะอาดปลอดภัยตลอดจนมารยาทในการ
รับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะไม่ต่อเนื่อง
๒.ผู้ประกอบและจำหน่ายอาหารขาดความตระหนักในการนำวัตถุดิบบางส่วนที่ยังไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานมาใช้ในการประกอบอาหารให้แก่ผู้บริโภค
๓. สถานที่ประกอบและจำหน่ายอาหารยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน สุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน
สุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน
หลังการพัฒนา
๑. ครูผู้รับผิดชอบกำกับดูแลให้เกิดเรื่องความสะอาด ปลอดภัยตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะในการรับประทานอาหารที่พึงประสงค์ทุกประการ
๒. ผู้ประกอบและจำหน่ายอาหารปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปฏิบัติตนให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานกำหนดครบทุกคน
๓. สถานประกอบและจำหน่ายอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารและมีความยั่งยืนตลอดไป
๔. ครู นักเรียน และผู้เกี่ยวข้องได้รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ มีคุณภาพตามหลักโภชนาการ
๕. นักเรียนมีสุขภาพร่างกาย แข็งแรง สมบูรณ์ เจริญเติบโตตามสัดส่วนที่ได้มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน
๓. พัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
ก่อนการพัฒนา
๑. ครู นักเรียนขาดความตระหนักและมีจิตสำนึกในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมให้สะอาด เป็นระเบียบ สวยงามและเกิดความปลอดภัย ในโรงเรียน
๒. การกำกับ ติดตาม ประเมินผลของผู้รับผิดชอบดูแลรักษาสภาพแวดล้อมไม่ต่อเนื่อง
๓. ระบบสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนบางส่วน อาทิเช่น สภาพบริเวณอาคาร สถานที่ยังไม่สะอาด ร่มรื่น และสวยงามตลอด
๔. ระบบสุขาภิบาลในโรงเรียนยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนครบทุกข้อ
หลังการพัฒนา
๑. ครู นักเรียนเกิดความตระหนักและเอาใจใส่ในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมให้สะอาด เป็นระเบียบร่มรื่น สวยงามและเกิดความปลอดภัย
๒. มีการกำกับ ติดตามและประเมินการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
๓. มีการพัฒนาปรับปรุงระบบสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในทุกด้านให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนทุกข้อ
๔ พัฒนาห้องปฏิบัติการตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
ก่อนการพัฒนา
๑. ครู นักเรียนขาดความตระหนักและเอาใจใส่ในการดูแลรักษาสภาพห้องปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ
๒. สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกไม่เพียงพอและไม่มีคุณภาพ
๓. ห้องปฏิบัติการไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานกำหนดเท่าที่ควร
หลังการพัฒนา
๑. ครู นักเรียน มีความตระหนักและเอาใจใส่ในการดูแลรักษาเพิ่มขึ้น มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบดูแลห้องปฏิบัติการทุกห้องอย่างชัดเจน
๒. มีการจัดหาสื่อ วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอและมีคุณภาพตามเกณฑ์กำหนด
๓. ห้องปฏิบัติการผ่านเกณฑ์มาตรฐานกำหนดทุกข้อ
๔. ครูและนักเรียนใช้ห้องปฏิบัติการในการเรียนการสอนมากขึ้น
๕. นักเรียนได้เรียนรู้จากห้องปฏิบัติการ และเกิดทักษะจากการได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงมากยิ่งขึ้น
๒. พัฒนาครูและบุคลากร
ก่อนการพัฒนา
๑. ครูและบุคลากรมีความตระหนักและให้ความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในระดับน้อย
๒. ครูและบุคลากรมีการควบคุม กำกับดูแลและเอาใจใส่การส่งเสริมสุขภาพนักเรียนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในระดับน้อย
๓. ครูและบุคลากรบางส่วนมีพฤติกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมเป็นแบบอย่างที่ดีอยู่ในระดับน้อย
๔. ครูและบุคลากรมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพในโรงเรียนระดับ น้อย
หลังการพัฒนา
๑. ครูและบุคลากรเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น
๒. ครูและบุคลากรให้ความเอาใจใส่ดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้เรียนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น
๓. ครูและบุคลากรสามารถนำแนวปฏิบัติในการดูแลส่งเสริมสุขภาพไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ดี
๔. ครูและบุคลากรให้ความร่วมมือในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสุขภาพที่โรงเรียนจัดเพิ่มมากขึ้น
๓. พัฒนาผู้เรียน
ก่อนการพัฒนา
๑. นักเรียนบางส่วนยังขาดความตระหนักและความสำคัญในการปฏิบัติตนตามตัวชี้วัดในการส่งเสริมสุขภาพตนเอง
๒. นักเรียนบางส่วนขาดการดูแลเอาใจใส่สุขภาพตนเองและบุคลากรที่เกี่ยวข้องตลอดจนนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในระดับน้อย
หลังการพัฒนา
๑. นักเรียนเห็นความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพตนเองและบุคลากรที่เกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้น
๒. นักเรียนดูแลเอาใจใส่สุขภาพตนเองและส่งเสริมสุขภาพผู้อื่นอย่างต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น
๓. นักเรียนสามารถนำแนวปฏิบัติในการดูแลสุขภาพไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
ในการตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรได้มีการติดตามตรวจสอบและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง มีการตรวจสอบและประเมินผลก่อนดำเนินการ ระหว่างดำเนินการและหลังดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการบำรุงขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน และตรวจสอบความก้าวหน้าตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาให้สามารถดำเนินการสำเร็จบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการตรวจสอบและประเมินผลได้ใช้เครื่องมือและสถิติในการตรวจสอบประเมินผลการพัฒนา
แบบสอบถามความพึงพอใจ ใช้ในการตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาด้านอาคารสถานที่ ตัวชี้วัดที่ ๑๑ ส้วมผ่านเกณฑ์มาตรฐาน HAS ตัวชี้วัดที่ ๑๕ โรงอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน และตัวชี้วัดที่ ๑๘ โรงเรียนผ่านเกณฑ์สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด