การศึกษาเรื่อง รายงานการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้เกมการศึกษาระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนศรีจอมทอง ครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้เกมการศึกษาของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนศรีจอมทอง ระหว่าง การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา จำแนกเป็นรายด้านและภาพรวม และเพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้เกมการศึกษาของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนศรีจอมทอง ก่อนและหลังจัดกิจกรรมเกมการศึกษา จำแนกเป็นรายด้านและภาพรวม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 อายุ 5-6 ปี ในห้อง 1 ถึง ห้อง 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียน ศรีจอมทอง จำนวน 127 คน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งเด็กทั้ง 4 ห้องมีพัฒนาการไม่แตกต่างกัน โดยผู้ศึกษากำหนดเกณฑ์กลุ่มตัวอย่าง ใช้ห้องเรียนที่ผู้ศึกษาเป็นครูประจำชั้น คือ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนศรีจอมทอง จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ประกอบด้วยคู่มือการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้เกมการศึกษาระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนศรีจอมทอง จำนวน 1 ฉบับ แผนการจัดประสบการณ์การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้เกมการศึกษาระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนศรีจอมทอง จำนวน 40 แผน และแบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้เกมการศึกษาระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนศรีจอมทอง ก่อนและหลังจัดกิจกรรมเกมการศึกษา จำนวน 1 ฉบับ 20 ข้อ วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้เกมการศึกษาระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนศรีจอมทอง ก่อนและหลังจัดกิจกรรมเกมการศึกษาและแบบสังเกตพฤติกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้เกมการศึกษาระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนศรีจอมทอง วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลในรูปตารางประกอบคำบรรยายและแผนภูมิประกอบคำบรรยาย สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ การทดสอบค่าที (Ttest) สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
1. เด็กมีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จำแนกเป็นรายด้านและภาพรวม ระหว่างจัดกิจกรรมเกมการศึกษาสูงขึ้นตามลำดับ ดังนี้ เด็กมีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในภาพรวม คือ สัปดาห์ที่ 1 ค่าเฉลี่ย 1.14 (ร้อยละ38.20) ถึงสัปดาห์ที่ 10 ค่าเฉลี่ย 2.71 (ร้อยละ90.32) และรายพฤติกรรม พบว่า ด้านจำนวน สัปดาห์ที่ 1 ค่าเฉลี่ย 1.19 (ร้อยละ39.66) ถึงสัปดาห์ที่ 10 ค่าเฉลี่ย 2.71 (ร้อยละ90.33) ด้านการเรียงลำดับเหตุการณ์ สัปดาห์ที่ 1 ค่าเฉลี่ย 1.13 (ร้อยละ37.66) ถึงสัปดาห์ที่ 10 ค่าเฉลี่ย 2.72 (ร้อยละ 90.66) ด้านเรขาคณิต สัปดาห์ที่ 1 ค่าเฉลี่ย 1.14 (ร้อยละ38.00) ถึงสัปดาห์ที่ 10 ค่าเฉลี่ย 2.69 (ร้อยละ 89.66) ด้านแบบ สัปดาห์ที่ 1 ค่าเฉลี่ย 1.13 (ร้อยละ37.50) ถึงสัปดาห์ที่ 10 ค่าเฉลี่ย 2.72 (ร้อยละ90.63)
2. เด็กมีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมเกมการศึกษา จำแนกเป็นรายด้านและภาพรวม ดังนี้
เด็กมีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นภาพรวม ก่อนจัดกิจกรรมคะแนนเฉลี่ย ( ) 33.91 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 3.47 หลังจัดกิจกรรมคะแนนเฉลี่ย( ) 44.88 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 3.18 ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่า T-test เท่ากับ 51.52
เด็กมีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จำแนกเป็นรายด้านดังนี้
ด้านจำนวน เด็กมีคะแนนก่อนจัดกิจกรรมคะแนนเฉลี่ย( )8.13 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 1.24 หลังจัดกิจกรรมคะแนนเฉลี่ย( )11.06 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.95 ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่า T-test เท่ากับ 18.19
ด้านการเรียงลำดับเหตุการณ์ เด็กมีคะแนนก่อนจัดกิจกรรมคะแนนเฉลี่ย ( ) 8.69 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.86 หลังจัดกิจกรรมคะแนนเฉลี่ย( )11.38 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.75 ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่า T-test เท่ากับ 32.28
ด้านเรขาคณิต เด็กมีคะแนนก่อนจัดกิจกรรมคะแนนเฉลี่ย( )8.81 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.86 หลังจัดกิจกรรมคะแนนเฉลี่ย ( ) 11.41 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.95 ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่า T-test เท่ากับ 26.21
ด้านแบบรูป เด็กมีคะแนนก่อนจัดกิจกรรมคะแนนเฉลี่ย( ) 8.28 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 1.30 หลังจัดกิจกรรมคะแนนเฉลี่ย( )11.03 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 1.23 ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่า T-test เท่ากับ 35.36