ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตกับ
ลวดลายประเกือม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการเรียนแบบร่วมมือกัน
เทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)
ผู้ศึกษา นางสาวจรรยารัตน์ ลวดเงิน
โรงเรียน สินรินทร์วิทยา อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลง
ทางเรขาคณิตกับลวดลายประเกือม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการเรียนแบบร่วมมือกันเทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตกับลวดลายประเกือม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการเรียนแบบร่วมมือกันเทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตกับลวดลายประเกือม กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนสินรินทร์วิทยา อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 32 คน ตัวแปรอิสระที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตกับลวดลายประเกือม ส่วนตัวแปรตามได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตกับลวดลายประเกือม จำนวน 6 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงแบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างด้วยการทดสอบที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตกับลวดลายประเกือม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการเรียนแบบร่วมมือกันเทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) มีประสิทธิภาพ 82.14/81.98 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตกับลวดลายประเกือม โดยการเรียนแบบร่วมมือกันเทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตกับลวดลายประเกือม โดยการเรียนแบบร่วมมือกันเทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) อยู่ในระดับมาก