คำแนะนำในการใช้แบบฝึกทักษะวอลเลย์บอล
แบบฝึกทักษะเล่มนี้ เป็นแบบฝึกทักษะที่ใช้ประกอบการเรียน นักเรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง ให้นักเรียนอ่านคำแนะนำ และปฏิบัติกิจกรรม แต่ละขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ นักเรียนจะได้รับความรู้อย่างครบถ้วนโดยปฏิบัติ ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ศึกษาจุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้ทราบว่า เมื่อจบบทเรียนแต่ละบทแล้วนักเรียนสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้าง
2. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน แล้วตรวจคำตอบที่
เฉลยไว้ท้ายแบบฝึกของแต่ละเรื่อง เพื่อให้รู้ว่านักเรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษา
มากน้อยเพียงใด
3. ศึกษาแบบฝึกทักษะและทำแบบฝึกตามที่กำหนดไว้เพื่อเป็นการทบทวนให้มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหายิ่งขึ้น
4. ทำแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อวัดความรู้ ความเข้าใจอีกครั้งหนึ่ง
5. นักเรียนแต่ละคนต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองไม่เปิดดูเฉลยก่อนเรียนและหลังเรียน
6. ถ้านักเรียนและผู้สนใจต้องการเนื้อหา
เพิ่มเติมจากแบบฝึกทักษะวอลเลย์บอลทั้งหมดและสามารถค้นคว้าได้จากบรรณานุกรมที่ให้ไว้ท้ายเล่ม
แบบฝึกทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง
สาระสำคัญ
การเล่นลูกสองมือล่าง หรืออันเดอร์ เป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับการเล่นวอลเลย์บอลไม่ว่าจะเป็นเกมรุก หรือเกมรับ ผู้เล่นส่วนใหญ่ต้องใช้ตั้งลูก หรือส่งลูกบอลด้วย สองมือล่าง
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการเล่นลูกสองมือล่าง
2. อธิบายและแสดงวิธีการจับมือแบบต่าง ๆ ในการเล่นลูกสองมือล่างได้
อย่าง ถูกต้อง
3. เห็นความสำคัญในการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย
สาระการเรียนรู้
การเล่นลูกสองมือล่าง
- ท่าเตรียมพร้อม
- การประสานมือ
- จุดกระทบ
- ทิศทางการกระดอนลูกบอล
- แบบฝึกทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง
แบบทดสอบก่อนเรียน
แบบฝึกทักษะวอลเลย์บอล เล่มที่ 1 การเล่นลูกสองมือล่าง
จำนวน 10 ข้อ เวลา 15 นาที
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. การยืนเตรียมพร้อม ในการเล่นลูกสองมือล่างควรยืนลักษณะใด
ก. ยืนเท้าคู่
ข. ยืนเท้านำเท้าตาม
ค. ยืนอย่างไรก็ได้
ง. ยืนตัวตรง
2. การเคลื่อนที่ของกีฬาวอลเลย์บอลเป็นอย่างไร
ก. เคลื่อนที่เป็นเวลานานๆ
ข. เคลื่อนที่ช้าๆ
ค. เคลื่อนที่รวดเร็วในระยะสั้นๆ
ง. เคลื่อนที่รวดเร็วระยะทางไกลๆ
3. การจับมือในการเล่นลูกสองมือล่างมีกี่วิธี
ก. 3 วิธี
ข. 2 วิธี
ค. 4 วิธี
ง. 1 วิธี
4. จุดสัมผัสลูกบอลของแขนในการเล่นลูกสองมือล่างคือบริเวณใด
ก. บริเวณนิ้วหัวแม่มือ
ข. บริเวณแขนตั้งแต่ข้อมือจนเกือบถึงข้อศอก
ค. แขนท่อนบน
ง. บริเวณใดก็ได้
5. ถ้าต้องการให้ลูกบอลเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ปลายแขนต้องต่ำกว่าหัวไหล่
ข. ปลายแขนขนานกับหัวไหล่
ค. ปลายแขนสูงกว่าหัวไหล่
ง. อย่างไรก็ได้แล้วแต่ถนัด
6. ถ้าต้องการให้ลูกบอลขึ้น ลง ในแนวดิ่ง ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ปลายแขนต้องต่ำกว่าหัวไหล่
ข. ปลายแขนขนานกับหัวไหล่
ค. ปลายแขนสูงกว่าหัวไหล่
ง. อย่างไรก็ได้แล้วแต่ถนัด
7. ถ้าต้องการให้ลูกบอลไปข้างหลัง ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ปลายแขนต้องต่ำกว่าหัวไหล
ข. ปลายแขนขนานกับหัวไหล่
ค. ปลายแขนสูงกว่าหัวไหล่
ง. อย่างไรก็ได้แล้วแต่ถนัด
8. การเล่นลูกสองมือล่าง นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอะไร
ก. ลูกล่าง
ข. ลูกเซต
ค. ลูกโอเวอร์
ง. ลูกอันเดอร์
9. นักกีฬาวอลเลย์บอลที่เริ่มเล่นใหม่ๆควรฝึกเล่นวิธีใดก่อน
ก. การเซต
ข. การตบ
ค. การเสิร์ฟ
ง. การเล่นลูกสองมือล่าง
10. การเล่นลูกสองมือล่างขณะแขนสัมผัสลูกบอลควรปฏิบัติอย่างไร
ก. งอแขน
ข. แขนตึง
ค. เอียงแขนไปทางซ้าย
ง. เอียงแขนไปทางขวา
เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน
แบบฝึกทักษะวอลเลย์บอล เล่มที่ 1 การเล่นลูกสองมือล่าง
1. ข
2. ค
3. ก
4. ข
5. ก
6. ข
7. ค
8. ง
9. ง
10. ข
ท่าเตรียมพร้อม
ยืนหันหน้าเข้าหาลูกบอลลักษณะเท้านำเท้าตามแยกเท้าทั้งสองออกกว้างกว่าช่วงไหล่เล็กน้อยให้น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าหน้า ยกมือทั้งสองขึ้นข้างหน้าระดับอก ให้ปลายแขนตั้งแต่ข้อศอกถึงมือให้ขนานกับพื้นตามองดูลูกบอลตลอดเวลาเปิดเท้าขึ้นเล็กน้อยเพื่อความรวดเร็วในการเคลื่อนที
การประสานมือ
การประสานมือโดยวิธีซ้อนมือ
ใช้มือทั้งสองซ้อนกัน จะใช้มือไหนซ้อนมือไหนก็ได้ให้มือล่างโอบใต้มือบน
ไว้แล้วให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองวางชิดขนานกันชี้ไปข้างหน้าแขนทั้งสองข้างเหยียดตรงคู่ขนานกันไปตลอด ขณะสัมผัสบอลให้เกร็งแขนเล็กน้อย
การประสานมือโดยวิธีโอบหมัด
ใช้มือใดมือหนึ่งกำหมัดไว้ใช้มืออีกข้างหนึ่งโอบหมัดด้านนอกอีกชั้นหนึ่ง
โดยใช้นิ้วมือทั้งสองวางชิดขนานกันชี้ไปข้างหน้าแขนทั้งสองข้างเหยียดตรงคู่ขนานกันไปตลอด ขณะสัมผัสบอลให้เกร็งแขนเล็กน้อย
การประสานโดยวิธีต่อหมัด
ให้กำหมัดทั้งมือซ้ายและมือขวา แล้วนำมาต่อหมัดให้ทั้งสองหมัดมาขนาน
ชิดกันให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองมาชิดขนานกันแขนทั้งสองข้างเหยียดตรงคู่ขนานกันไปตลอด ขณะสัมผัสบอลให้เกร็งแขนเล็กน้อย
จุดกระทบของลูกบอลกับแขน
จุดที่กระทบของลูกบอลกับแขนนั้นอยู่บริเวณตั้งแต่ข้อมือขึ้นมา จนถึงกึ่งกลางของกระดูกแขนท่อนล่างทั้งสองข้างถ้าตำแหน่งของมือที่สัมผัสลูกถูกสูงเกินไป อาจจะทำให้เกิดการพักลูกได้ ถ้ามือสัมผัสลูกต่ำเกินไป เช่นบริเวณง่ามมือหรือปลายนิ้ว ลูกบอลจะเคลื่อนที่ออกไปในทิศทางที่ไม่แน่นอน
ทิศทางการกระดอนของลูกบอล
1. ต้องการให้ลูกเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ให้ยกปลายแขนต่ำกว่าหัวไหล่
2. ต้องการให้ลูกบอลเคลื่อนที่ขึ้น ลง ในแนวดิ่งให้ยกแขนทั้งสองขนานกับพื้น
3. ต้องการให้ลูกบอลไปข้างหลังให้ยกแขนทั้งสองขึ้นให้ยกปลายแขนสูงกว่า
หัวไหล่
4. ต้องการให้ลูกไปด้านข้าง บิดลำตัวให้แขนสัมผัสลูกพร้อมกับก้าวออกไปด้านข้าง โดยให้ปลายแขนต่ำกว่าหัวไหล่
แบบฝึกทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง
แบบฝึกที่ 1 โยนลูกบอลขึ้นเล่นลูกสองมือล่างตั้งขึ้น 1 ครั้ง
แบบฝึกที่ 2 โยนบอลขึ้นตั้ง
แบบฝึกที่ 3 ย่อตัวรับลูกสองมือล่าง
แบบฝึกที่ 4 เคลื่อนที่เล่นลูกบอลสองมือล่าง
แบบฝึกที่ 5 ยืนจับคู่เล่นลูกสองมือล่างโต้ไป - มา
แบบฝึกที่ 6 ฝึกเล่นลูกสองมือล่างสลับกัน 3 คน
แบบฝึกที่ 7 หมุนตัวเคลื่อนที่เล่นลูกสองมือล่าง
แบบฝึกที่ 8 ฝึกตั้งลูกสองมือล่างต่อเนื่องกัน
แบบฝึกที่ 9 ผู้ฝึกสอนขว้างลูกบอลให้รับลูกสองมือล่าง
แบบฝึกที่ 10 ฝึกเคลื่อนที่รับลูกบอลสองมือล่าง 3 จุด
แบบฝึกที่ 11 ฝึกเล่นลูกบอลสองมือล่างหลาย ๆ ลูกในวงเดียวกัน
แบบฝึกที่ 12 โยนลูกบอลข้ามตาข่ายให้เล่นลูกสองมือล่างกลับคู่
แบบฝึกที่ 13 เล่นลูกสองมือล่างเป็นรูปวงกลม
แบบฝึกที่ 14 เล่นลูกสองมือล่างให้แถวทะแยงมุมอันเดอร์ข้ามตาข่าย
1.
แบบฝึกที่ 15 เล่นลูกสองมือล่างเปลี่ยนที่ 3 จุด
แบบฝึกที่ 16 เล่นลูกสองมือล่างสลับเปลี่ยนที่ 3 คน
แบบฝึกที่ 17 เล่นลูกบอลสองมือล่างสลับเปลี่ยนที่ 2 กลุ่ม
แบบฝึกที่ 18 ฝึกรับลูกเสิร์ฟด้วยการเล่นลูกมือล่าง
แบบฝึกที่ 19 รับลูกเสิร์ฟด้วยการเล่นลูกสองมือล่างสองแถว
แบบฝึกที่ 20 รับลูกเสิร์ฟด้วยการเล่นลูกสองมือล่าง 3 ครั้งข้ามตาข่าย
แบบทดสอบภาคปฏิบัติ วิชาวอลเลย์บอล
เรื่อง การเล่นลูกสองมือล่าง
ชื่อ
..เลขที่
ชั้น
/
โรงเรียนปราสาทวิทยาคม
คำชี้แจง ให้เขียนคะแนนให้ตรงกับระดับการปฏิบัติของนักเรียน
รายการปฏิบัติ ระดับการปฏิบัติ หมายเหตุ
2 1 0
ก. ลักษณะท่าทาง
1. ท่ายืนในลักษณะเตรียมพร้อมที่จะเล่นวอลเลย์บอล ...... ...... ......
2. การประสานมือได้ถูกวิธี ...... ...... ......
3. ตีบอลถูกจุดสัมผัสบอล ...... ...... ......
4. การออกแรงเล่นลูกบอลด้วยสองมือล่างได้ถูกต้องแม่นยำ ...... ...... ......
5. พุ่งตัวรับบอลได้ถูกต้อง ...... ...... ......
ข. ผลการเล่นลูกสองมือล่าง
เล่นลูกสองมือล่างเข้าสู่เป้าหมายได้ 10 ครั้ง
ได้ .........................คะแนน
........................
(5 คะแนน)
ค. คุณลักษณะการปฏิบัติ
ความตั้งใจ ...... ...... ...... (5 คะแนน)
รวม (20 คะแนน)
เกณฑ์การผ่าน นักเรียนจะต้องได้คะแนน 14 คะแนนขึ้นไป
( ลงชื่อ )
ผู้ประเมิน
(นายณรงค์ศักดิ์ มูกขุนทด)
วันที่
..เดือน
พ.ศ............
เกณฑ์การให้คะแนน
ก. ลักษณะท่าทางในการเล่นลูกสองมือล่าง
2 คะแนนหมายถึง มีลักษณะท่าทางถูกต้องตามวิธี
1 คะแนนหมายถึง มีลักษณะท่าทางที่บกพร่องเล็กน้อย
1 คะแนน หมายถึง ไม่สามารถปฏิบัติได้เลย
ข. ความสามารถในการเล่นลูกสองมือล่าง หรืออันเดอร์
นักเรียนสามารถส่งวอลเลย์บอลไปยังเป้าหมายได้ตามกำหนดได้ถูกต้องตามกติกา 10 ครั้ง
(2 ครั้ง : 1 คะแนน)
คะแนน การปฏิบัติ
ท่ายืนในลักษณะเตรียมพร้อมที่จะเล่นวอลเลย์บอล
2คะแนน
1คะแนน
0คะแนน หมายถึง ยืนในท่าการทรงตัวแบบเท้านำเท้าตาม ย่อเข่าเล็กน้อย ลำตัวก้มไปข้างหน้าเล็กน้อยสายตามองไปข้างหน้าพร้อมที่จะเล่นลูกบอลเพื่อการทรงตัว
หมายถึง ยืนในท่าการทรงตัวแบบเท้านำ เท้าตามแต่ไม่ย่อเข่า ลำตัวตั้งตรง สายตามองไปข้างหน้า แขนยื่นไปข้างหน้าพร้อมที่จะเล่นวอลเลย์บอล
หมายถึง ไม่สามารถปฏิบัติได้เลย
การประสานมือได้ถูกวิธี
2 คะแนน
1 คะแนน
0 คะแนน หมายถึง การซ้อนมือโดยเอามือข้างหนึ่งไปวางซ้อนทับอีกมือหนึ่ง แล้วให้นิ้วหัวแม่มือติดกัน แขนเหยียดตึง
หมายถึง การซ้อนมือโดยเอามือข้างหนึ่งไปวางซ้อนทับอีกมือหนึ่ง แล้วให้นิ้วหัวแม่มือติดกัน แขนไม่เหยียดตึง
หมายถึง ไม่สามารถปฏิบัติได้เลย
ตีบอลถูกจุดสัมผัสบอล
2 คะแนน
1 คะแนน
0 คะแนน หมายถึง ตีบอลบริเวณท่อนแขนด้านหน้าทั้งสองแขนพร้อม ๆ กัน ตั้งแต่เหนือข้อมือขึ้นมา
หมายถึงตีบอลบริเวณท่อนแขน ด้านหน้าทั้งสองแขนไม่พร้อมกัน ตั้งแต่เหนือข้อมือขึ้นมา
หมายถึง ไม่สามารถปฏิบัติได้เลย
การออกแรงเล่นลูกบอลด้วยสองมือล่างได้ถูกต้องแม่นยำ
2 คะแนน
1คะแนน
0 คะแนน หมายถึง แขนเหยียดตึงเพื่อรับหรือตีลูกบอลที่พุ่งมาให้เกิดแรงกระทบลูกบอล ช่วยในการส่งลูกบอลพุ่งออกไปตามต้องการได้
หมายถึง แขนไม่เหยียดตึงเพื่อรับหรือตีลูกบอลที่พุ่งมาให้เกิดแรงกระทบลูกบอล ช่วยในการส่งลูกบอลพุ่งออกไปตามต้องการได้
หมายถึง ไม่สามารถปฏิบัติได้เลย
พุ่งตัวรับบอลได้ถูกต้อง
2 คะแนน
1คะแนน
0 คะแนน หมายถึง ยืนในลักษณะเตรียมพร้อมโล้ตัวไปตามทิศทางที่ลูกบอลมาพร้อมเหวี่ยงแขนไปข้างหลังแล้วถีบเท้าพุ่งตัวไปหาลูกบอลพร้อมกับเหวี่ยงแขนมาข้างหน้า แขนทั้งสองเหยียดตึง มือทั้งสองจับกันเพื่อรับลูกบอล
หมายถึง ยืนในลักษณะไม่เตรียมพร้อมตามทิศทางที่ลูกบอลมา พร้อมเหวี่ยงแขนไปข้างหลังแล้วถีบเท้าพุ่งตัวไปหาลูกบอลพร้อมกับเหวี่ยงแขนมาข้างหน้า แขนทั้งสองเหยียดตึง มือทั้งสองจับกันเพื่อรับลูกบอล
หมายถึง ไม่สามารถปฏิบัติได้เลย
แบบทดสอบหลังเรียน
แบบฝึกทักษะวอลเลย์บอล เล่มที่ 1 การเล่นลูกสองมือล่าง
จำนวน 10 ข้อ เวลา 15 นาที
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. การเคลื่อนที่ของกีฬาวอลเลย์บอลเป็นอย่างไร
ก. เคลื่อนที่เป็นเวลานานๆ
ข. เคลื่อนที่ช้าๆ
ค. เคลื่อนที่รวดเร็วในระยะสั้นๆ
ง. เคลื่อนที่รวดเร็วระยะทางไกลๆ
2. การยืนเตรียมพร้อม ในการเล่นลูกสองมือล่างควรยืนลักษณะใด
ก. ยืนเท้าคู่
ข. ยืนเท้านำเท้าตาม
ค. ยืนอย่างไรก็ได้
ง. ยืนตัวตรง
3. จุดสัมผัสลูกบอลของแขนในการเล่นลูกสองมือล่างคือบริเวณใด
ก. บริเวณนิ้วหัวแม่มือ
ข. บริเวณแขนตั้งแต่ข้อมือจนเกือบถึงข้อศอก
ค. แขนท่อนบน
ง. บริเวณใดก็ได้
4. การจับมือในการเล่นลูกสองมือล่างมีกี่วิธี
ก. 3 วิธี
ข. 2 วิธี
ค. 4 วิธี
ง. 1 วิธี
5. ถ้าต้องการให้ลูกบอลขึ้น ลง ในแนวดิ่ง ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ปลายแขนต้องต่ำกว่าหัวไหล่
ข. ปลายแขนขนานกับหัวไหล่
ค. ปลายแขนสูงกว่าหัวไหล่
ง. อย่างไรก็ได้แล้วแต่ถนัด
6. การเล่นลูกสองมือล่างขณะแขนสัมผัสลูกบอลควรปฏิบัติอย่างไร
ก. งอแขน
ข. แขนตึง
ค. เอียงแขนไปทางซ้าย
ง. เอียงแขนไปทางขวา
7. การเล่นลูกสองมือล่าง นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอะไร
ก. ลูกล่าง
ข. ลูกเซต
ค. ลูกโอเวอร์
ง. ลูกอันเดอร์
8. ถ้าต้องการให้ลูกบอลไปข้างหลัง ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ปลายแขนต้องต่ำกว่าหัวไหล
ข. ปลายแขนขนานกับหัวไหล่
ค. ปลายแขนสูงกว่าหัวไหล่
ง. อย่างไรก็ได้แล้วแต่ถนัด
9. ถ้าต้องการให้ลูกบอลเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ปลายแขนต้องต่ำกว่าหัวไหล่
ข. ปลายแขนขนานกับหัวไหล่
ค. ปลายแขนสูงกว่าหัวไหล่
ง. อย่างไรก็ได้แล้วแต่ถนัด
10. นักกีฬาวอลเลย์บอลที่เริ่มเล่นใหม่ๆควรฝึกเล่นวิธีใดก่อน
ก. การเซต
ข. การตบ
ค. การเสิร์ฟ
ง. การเล่นลูกสองมือล่าง
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน
แบบฝึกทักษะวอลเลย์บอล เล่มที่ 1 การเล่นลูกสองมือล่าง
1. ค
2. ข
3. ข
4. ก
5. ข
6. ข
7. ง
8. ค
9. ก
10. ง
แบบประเมินผลการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
แบบฝึกทักษะวอลเลย์บอล เล่มที่ 1 เรื่องการเล่นลูกสองมือล่าง
คำชี้แจง โปรดให้คะแนนในช่องผลการประเมินตามความเป็นจริง
เลขที่ ผลการเรียนรู้
แบบทดสอบ
ก่อนเรียน แบบทดสอบทักษะที่ 1 แบบทดสอบ
หลังเรียน
10 20 10
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
รวม
เฉลี่ย
ร้อยละ
ลงชื่อ................................................ผู้ประเมิน
( นายณรงค์ศักดิ์ มูกขุนทด)
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
บรรณานุกรม
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษา และพลศึกษา เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กรุงเทพ ฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
พิชิต ภูติจันทร์. (2546). วอลเลย์บอล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สมคิด สวนศรี. (2550). วอลเลย์บอล. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:
203.158.184.2/elearning/valleyball/unit100.htm - 8k [24 พฤศจิกายน 2554].
สมชาย ประเสริฐ์ศิริพันธ์และคณะ. (2550). หนังสือเรียนพลศึกษา เล่ม 6 วอลเลย์บอล ม. 1 - 3.
กรุงเทพ ฯ : วัฒนาพานิช.
สังคม พื้นชมภู. (2547). การสร้างแบบวัดภาคปฏิบัติกีฬาวอลเลย์บอล กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักพัฒนาบุคลากรกีฬาการกีฬาแห่งประเทศไทย. กองพัฒนาบุคลากร. (2547).
คู่มือประกอบหลักสูตรผู้ฝึกสอนกีฬาวอลเลย์บอลระดับชาติขั้นต้น.
กรุงเทพฯ : อาร์ตโปรเกรส.
อมรพงศ์ สุธรรมรักษ์. (2546). วอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
อภิศักดิ์ ขำสุข. (2544). การฝึกวอลเลย์บอล 2000. กรุงเทพฯ : รั้วเขียว.
อุทัย สงวนพงศ์ และสุนัฏฐา สงวนพงศ์ (2550). หนังสือเรียนรายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ชั้น ม.2.
กรุงเทพ ฯ :พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด.
แปดปกดห