ชื่อเรื่อง รายงานการสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีอักษรนำกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้รายงาน นางอรัญญา ศรสุวรรณ ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนเทศบาล ๔
(อุดมวิทย์สมใจ)
ปีที่ศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การทดลองครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและ การเขียนคำที่มีอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีอักษรนำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีอักษรนำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๔ (อุดมวิทย์สมใจ)ประจำภาคเรียนที่ 1/2558 จำนวน 35 คน ซึ่งคัดเลือกมาแบบเจาะจง (Purposive Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองในครั้งนี้ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 เล่ม คู่มือการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 เล่ม (ภายในเล่มประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 8 แผน) แบบทดสอบ เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากระหว่าง 0.2-0.8 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง ตั้งแต่ 0.24 ขึ้นไป ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.89 แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทย ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) ชนิด 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)
ผลการทดลองพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ E1/E2 = 85.10 / 85.56
2. ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่าน และการเขียนคำที่มีอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีอักษรนำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก และมีความคิดเห็นสอดคล้องกันค่อนข้างสูง ( = 4.04, S.D. = 0.68)