บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโครงการสวนพฤกษศาสตร์
โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้วิจัย : นายวัฒนา เตชะโกมล
ปีที่วิจัย : พ.ศ. 2558
.....................................................................................................................................................................
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารจัดการโครงการสวน พฤกษศาสตร์ โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการ โครงการสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม จังหวัดอุบลราชธานี 3) ทดลองใช้รูปแบบการ บริหารจัดการโครงการสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม จังหวัดอุบลราชธานี4) ประเมิน ความพึงพอใจรูปแบบการบริหารจัดการโครงการสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม จังหวัด อุบลราชธานี โดยดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสาร งานวิจัย ทฤษฎีและแนวคิดที่ เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการโครงการสวนพฤกษศาสตร์ ขั้นตอนที่ 2 สร้างแบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารจัดการโครงการสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนแก้งเหนือ พิทยาคม จังหวัดอุบลราชธานี ขั้นตอนที่ 3 สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการบริหารจัดการ โครงการสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม จังหวัดอุบลราชธานี โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และ นำไปทดลองเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการสวนพฤกษศาสตร์ 20 คน ขั้นตอนที่ 4 ทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการโครงการสวนพฤกษศาสตร์ ขั้นตอนที่ 5 ประเมินความ พึงพอใจของบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องต่อรูปแบบการบริหารจัดการโครงการสวนพฤกษศาสตร์ที่ พัฒนาขึ้น
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการบริหารจัดการโครงการสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการ โดยใช้หลักการของวงจรบริหารงานคุณภาพ PDCA ซึ่งประกอบด้วยการ วางแผนการปฏิบัติงาน (Plan) การปฏิบัติงาน (Do) การตรวจสอบประเมินผลการปฏิบัติงาน (Check) และการปรับปรุงแก้ไข (Action) นำมาประยุกต์ใหม่ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ การบริหารและการ จัดการ การดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน ความถูกต้องทางวิชาการ สาระการเรียนรู้ 3 สาระ การเรียนรู้ 5 องค์ประกอบของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและพืชศึกษา ผลการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีคุณภาพและเหมาะสมในระดับมาก
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการโครงการสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียน
แก้งเหนือพิทยาคม จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า มีความรู้สูงกว่าก่อนการทดลองใช้อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .001
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องที่นำรูปแบบการบริหาร จัดการโครงการสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนแก้งเหนือพิทยาคม จังหวัดอุบลราชธานี ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นไป ทดลองใช้ พบว่า อยู่ในระดับมาก