ชื่อเรื่องรายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาของโรงเรียนโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2
(มูลนิธิไต้ล้ง เช็ง พรประภา)
ชื่อผู้เขียน นางอมรรัตน์ ชัยขรรค์เมือง
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีที่ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 (มูลนิธิไต้ล้ง เช็ง พรประภา) 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 (มูลนิธิไต้ล้ง เช็ง พรประภา) 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 (มูลนิธิไต้ล้ง เช็ง พรประภา) ก่อนนำไปใช้จริง 4) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 (มูลนิธิไต้ล้ง เช็ง พรประภา) และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 (มูลนิธิไต้ล้ง เช็ง พรประภา โดยประยุกต์ใช้วงจรคุณภาพ (PDCA) มีขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 คือการสร้างรูปแบบ และ ขั้นตอนที่ 2 คือการพัฒนารูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง 2) แบบประเมินการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ 3) แบบสอบถามวัดคุณภาพการศึกษา 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้ตรรกวิทยาเชิงอุปนัย (Induction) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติบรรยาย (Descriptive statistic) ได้แก่ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย (μ) ค่าร้อยละ (%) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (𝜎𝜎) สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้
1. ผลการสังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีที่ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างรูปแบบ ได้ขอบข่ายการบริหารวิชาการ 10 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) การวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน 4) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 5) การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 6) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 7) การนิเทศการศึกษา 8) การแนะแนวการศึกษา 9) การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และ 10) การส่งเสริมด้านวิชาการแก่ชุมชน โดยมีขั้นตอนการบริหารแบบมีส่วนร่วม 4 ขั้นตอน ได้ แก่
1) การมีส่วนร่วมใน การค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาและการมีส่วนร่วมในการวางแผน (Plan)
2) การมีส่วนร่วมใน การปฏิบัติตามแผน (Do)
3) การมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล (Check) และ
4) การมีส่วนร่วมใน การนำ ผลการประเมินมาปรับปรุง (Act)
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ได้ รูปแบบการบริหารงานวิ ชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง2 (มูลนิธิไต้ล้ง เช็ง พรประภา)
3. ผลการประเมินรูปแบบ พบว่าในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ ในระดับมาก โดยมีรูปแบบ การบริหารงานวิ ชาการด้านขอบข่ายและภารกิจของงานวิ ชาการอยู่ ในระดับมากที่สุด
4. ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่าในภาพรวมผลการทดลอง พบว่า มีค่าแตกต่างกันและมี ค่าเฉลี่ยหลังการใช้สูงกว่าก่อนการใช้ โดยหลังการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมมี ค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้
5. ผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบ พบว่าในภาพรวมผลการประเมินความพึงพอใจต่อ รูปแบบการบริหารงานวิ ชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลแหลม ฉบัง2 (มูลนิธิไต้ล้ง เช็ง พรประภา) อยู่ในระดับมากที่สุด