ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบ
ของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
ผู้ศึกษา นางลัดดา น้อยธง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ
โรงเรียนบ้านหินเหิบศิลาทิพย์ อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ให้จำนวนผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนผู้เรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ตั้งแต่ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็มขึ้นไป 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
80 / 80 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านหินเหิบศิลาทิพย์ อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้รูปแบบการศึกษาแบบกลุ่มเดี่ยว ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pretest Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น จำนวน 15 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวม 15 ชั่วโมง แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 5 ฉบับ ฉบับละ 10 ข้อ รวมข้อสอบทั้งหมด 50 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.87 และแบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent
 
ผลการศึกษาพบว่า
1. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบ
ของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ทั้ง 5 เล่ม พบว่า คะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผ่านเกณฑ์ 15 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของจำนวนผู้เรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ มีจำนวนผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนผู้เรียนทั้งหมดมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 ขึ้นไป
2. ผลการศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัว
ประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้ง 5 เล่ม พบว่า แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ทั้ง 5 เล่ม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.93 / 88.67 และมีประสิทธิผล เท่ากับ 0.8404 คิดเป็นร้อยละ 84.04 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ จะเห็นว่า ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 15 คน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น จำนวน 5 เล่ม มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ เห็นด้วยมากที่สุด ( x̄= 4.74)