การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะการออกแบบในรายวิชาทัศนศิลป์ 2 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะการออกแบบในรายวิชาทัศนศิลป์ 2 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะการออกแบบในรายวิชาทัศนศิลป์ 2 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการออกแบบรายวิชาทัศนศิลป์ 2 ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน ศึกษาพัฒนาการของความคิดสร้างสรรค์และทักษะการออกแบบในรายวิชาทัศนศิลป์ 2 ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 3) เพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะการออกแบบในรายวิชาทัศนศิลป์ 2 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรายวิชาทัศนศิลป์ 2 รหัส ศ 22101 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนเทศบาล 3 (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) จำนวน 32 คนได้มาโดยสุ่มสมบูรณ์โดยวิธีสุ่ม (Random Assignment) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการขยายผลการวิจัยครั้งนี่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรายวิชาทัศนศิลป์ 2 รหัส ศ 22101 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนเทศบาล 3 (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนการสอน แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ แบบวัดทักษะการออกแบบและแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติแบบไม่อิสระและแบบอิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะการออกแบบในรายวิชาทัศนศิลป์ 2 (PIYADA Model) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการและองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำไปใช้ กระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม (P: Prepare) 2) ขั้นวางแผนการทำงาน (I: Imagine) 3) ขั้นลงมือปฏิบัติ (Y: Carry) 4) ขั้นสรุปผลงาน (A: Account) 5) ขั้นนำเสนอผลงาน (D: Donation) 6) ขั้นประเมินผลและประยุกต์ใช้ (A: Apply) โดยที่ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน เท่ากับ 83.51/86.31 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะการออกแบบในรายวิชาทัศนศิลป์ 2 (PIYADA Model) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์รายวิชาทัศนศิลป์ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะการออกแบบในรายวิชาทัศนศิลป์ 2 (PIYADA Model) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนมีทักษะการออกแบบรายวิชาทัศนศิลป์ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความคิดสร้างสรรค์และทักษะการออกแบบในรายวิชาทัศนศิลป์ 2 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะการออกแบบในรายวิชาทัศนศิลป์ 2 (PIYADA Model) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พัฒนาขึ้นในช่วงระหว่างเรียนพัฒนาขึ้นจากระดับที่ 1 ไปจนถึงระยะที่ 6 พัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทักษะการออกแบบเป็นอันดับ 1 และความคิดสร้างสรรค์เป็นอันดับที่ 2
5. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และทักษะการออกแบบในรายวิชาทัศนศิลป์ 2 (PIYADA Model) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนมีความเห็นด้วยในระดับมากที่สุด ("X" ̅= 4.71, S.D. = 0.13)
6. ผลการขยายผล พบว่า หลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์และทักษะการออกแบบในรายวิชาทัศนศิลป์ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความคิดสร้างสรรค์และทักษะการออกแบบในรายวิชาทัศนศิลป์ 2 ของนักเรียนพัฒนาขึ้นในช่วงระหว่างเรียน และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด