ชื่อผลงาน โครงการปรับสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษา โดยใช้
BANPLONG MODEL
ผู้รายงาน นางขนิษฐา นนธิ
ปีการศึกษา ๒๕๕๙
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของโครงการปรับสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาโดยใช้ BANPLONG MODEL ๑) เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ๒)เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จากการปรับสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนและการจัดการศึกษาของครู ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการปรับสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษา BANPLONG MODEL คือการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา คือ การร่วมระดมความคิด(Brainstorming) ผูกจิตสร้างตระหนัก(Awareness) รู้จักรักและความต้องการ(Need) ประสานความร่วมมือ(Participation) ยึดถือภาวะผู้นำ(Leadership) ลงมือทำโดยองค์กร(Organization) นิเทศติดตามขั้นตอนดำเนินงานเป็นเครือข่าย(Network) มุ่งสู่เป้าหมายคือการพัฒนา(Goal) ขับเคลื่อนโดยการบริหารคุณภาพหรือวงจรคุณภาพ (PDCA) ดำเนินกิจกรรมในโครงการใช้ระยะเวลา ๑ ปี โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมสดใสน่าอยู่ มีแหล่งเรียนรู้สำหรับการศึกษาเรียนรู้ ผู้เรียนมีผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เพิ่มสูงขึ้น เฉลี่ย ๑๐.๒๕ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร้อยละ ๘๔.๙๘ มีความพึงพอใจในกิจกรรม ระดับมาก-มากที่สุด ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร้อยละ ๗๘.๘๓ มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาการจัดการศึกษา จากการปรับสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ มีความพึงพอใจมาก-มากที่สุด ผู้เรียนชอบมาโรงเรียน และสนใจใฝ่เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้
ผลที่ได้รับ
๔.๑ ด้านผู้เรียน จากการดำเนินโครงการปรับสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการจัด
การศึกษาโดยใช้ BANPLONG MODEL ที่มีการปรับสภาพแวดล้อมปรับภูมิทัศน์ให้โรงเรียนสวยงามมีสีสัน มีแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ มีสนามเด็กเล่น มีแหล่งเรียนรู้/สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ DLTV DLIT ในห้องเรียน มีห้องเรียนพิเศษ แหล่งเรียนรู้ส่งเสริมด้านอาชีพ ทำให้ผู้เรียนมีความสนใจมาเรียนมากขึ้น ปรับเวลามาโรงเรียนให้เช้าขึ้น มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความสนใจใฝ่เรียนรู้ รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถสืบค้นความรู้โดยใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ ส่งผลให้มีพัฒนาการด้านผลสัมฤทธิ์ระดับชาติจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) สูงขึ้นค่าพัฒนา ๑๐.๒๕ (ปีการศึกษา ๒๕๕๗ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๒๗.๓๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๓๗.๕๘ )
๔.๒ ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา ครูมีความมุ่งมั่น มุ่งพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้งในห้องเรียน ครูมี
โอกาสได้ใช้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย ทันสมัย มีความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลเพื่อพัฒนาตนเองและผู้เรียน พัฒนาการจัดการเรียนการสอน จากการสอบถามการปรับสภาพแวดล้อมทำให้มีความสดชื่นมีแรงจูงใจในการทำงานมากยิ่งขึ้นบริเวณสะอาดขึ้นเป็นระเบียบน่าอยู่ บรรยากาศดีขึ้น โรงเรียนสดใส สะดวก ปลอดภัยขึ้น มีแหล่งเรียนรู้ด้านอาชีพให้ได้ใช้การจัดการเรียนการสอน มีห้องปฏิบัติการให้ผู้เรียนรู้จากการลงมือทำ
๔.๓ ด้านการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาในโรงเรียนบ้านโผลงมีการพัฒนาดีขึ้น มีการดำเนินงาน
เป็นระบบ การบริหารงานแบบกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ร่วมคิด ร่วมทำ ทำให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา สามารถระดมทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม ทั้งวัสดุ-อุปกรณ์ กำลังแรงงาน เพื่อพัฒนาโรงเรียน ผู้เรียนร่วมกัน
๔.๔ ด้านสถานศึกษา หลังจากดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการปรับสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้
เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโผลง สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น สภาพแวดล้อมสะอาด ปลอดภัย มีสีสันสดใส บรรยากาศดี สดชื่น น่าอยู่น่าเรียน มีแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และสถานที่เล่นเพื่อให้มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา มีแหล่งเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน มีแหล่งเรียนรู้ด้านอาชีพ ด้านศาสนา ที่ประกอบศาสนกิจทางศาสนาอิสลาม มีอาคารเรียน อาคารประกอบ ที่ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าคุ้มทุน มีสถานที่ให้บริการชุมชน อาทิ ลานกีฬาอเนกประสงค์ อาคารอเนกประสงค์
๔.๕ ด้านผู้ปกครองและชุมชน ผู้ปกครองและชุมชนมีความพึงพอใจที่โรงเรียนให้ความสำคัญในการ
พัฒนาสภาพแวดล้อมให้โรงเรียนสะอาด สวยงาม สีสันสดใส มีแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ น้ำตกจำลอง สวยงาม สดชื่น มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่พร้อมใช้งานการจัดการเรียนการสอน การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต มีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เพื่อการเรียนรู้โดยการทดลอง มีแหล่งเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนเพื่อการจัดการเรียนการสอน มีอาคารละหมาดสำหรับปฏิบัติศาสนกิจทางศาสนาอิสลาม ห้องเรียนอิสลามศึกษา มีแหล่งเรียนรู้ด้านอาชีพได้ใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานในการประกอบอาชีพ การได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง และมีลานกีฬาอเนกประสงค์ อาคารอเนกประสงค์ โรงอาหาร ให้บริการชุมชนได้เข้ามาทำกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ เสมอมา เมื่อโรงเรียนมีการพัฒนาขึ้นทำให้ผู้ปกครองให้ความไว้วางใจ ส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนในโรงเรียนและให้การสนับสนุน ช่วยกันพัฒนาโรงเรียนการจัดการศึกษาของโรงเรียนพัฒนาก้าวหน้าต่อไป