การประเมินโครงการค่ายวิชาการเพื่อพัฒนาผู้เรียนโรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรงประชาสรรค์) มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นและความเป็นไปได้ในการจัดทำโครงการค่ายวิชาการเพื่อพัฒนาผู้เรียนโรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรงประชาสรรค์)
2. เพื่อประเมินผลการปฏิบัติตามแผนและความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการค่ายวิชาการเพื่อพัฒนาผู้เรียนโรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรงประชาสรรค์)
3. เพื่อประเมินความสำเร็จในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการค่ายวิชาการเพื่อพัฒนาผู้เรียนโรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรงประชาสรรค์)
4. เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการค่ายวิชาการเพื่อพัฒนาผู้เรียนโรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรงประชาสรรค์)
การประเมินครั้งนี้ได้ใช้รูปแบบการประเมิน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPP (Context-Input-Process
- Product Mode : CIPP Model ; Daniel L. Stufflebeam, 1971) ซึ่งเป็นรูปแบบการประเมินที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน โดนมีประเด็นในการประเมิน 4 ประเด็น คือ 1) ประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (InputEvaluation) 3) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) 4) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) อันจะนำไปสู่การตัดสินใจสำหรับผู้บริหาร
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-5 ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการค่ายวิชาการเพื่อพัฒนาผู้เรียนโรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรงประชาสรรค์) ตามคุณสมบัติที่กำหนด รวมทั้งสิ้น 150 คน
ผู้ให้ข้อมูลได้แก่
1. ผู้ให้ข้อมูลเพื่อกำหนดกรอบการประเมินและตัวชี้วัด รวมทั้งสิ้น 15 คนประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ
จำนวน 5 คน ครูประจำชั้น ม. 1 - 6 จำนวน 6 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน นักวิชาการด้าน การประเมินโครงการจำนวน 2 คน
2. ผู้ให้ข้อมูลในการประเมินโครงการ รวมทั้งสิน จำนวน 245 คน ประกอบด้วย ครูประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 5 จำนวน 32 คน คณะทำงาน 20 คน กรรมการสถานศึกษา 7 คนนักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย 150 คน ผู้ปกครองของนักเรียนในกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน ผู้แทนหน่วยงาน/องค์กรในชุมชน/ได้แก่ เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี ผู้แทนชุมชน จำนวน 6 คน
เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สำรวจความคิดเห็น (Checklist) มาตรประมาณค่า 5 ระดับ(Likert, 1932) และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจ มาตรประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และทดลองใช้เครื่องมือก่อนนำไปใช้จริง
ผลการประเมินโครงการ
1. ผลการประเมินความต้องการจำเป็นและความเป็นไปได้ในการจัดทำโครงการค่ายวิชาการเพื่อพัฒนาผู้เรียนโรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรงประชาสรรค์) พบว่า ความต้องการจำเป็นของโครงการ ซึ่งวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษาทุกระดับ ทั้งระดับกระทรวงในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรโดยเสริมสร้าง และนโยบายของโรงเรียนด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนนอกจากนี้ยังมีความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ ตามความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครอง/ชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน และมีความเหมาะสมกับสุขภาพชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม อันได้แก่ การประกอบอาชีพพื้นฐานของท้องถิ่น ทำให้มีหลักการและเหตุผล ทางด้านนโยบาย ความจำเป็น และความเหมาะสมในการดำเนินโครงการ และมีความเป็นไปได้ที่สามารถจะจัดทำโครงการ เนื่องจากในการประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการพบว่ามีความพร้อมและความเพียงพอของปัจจัยต่างๆด้านการจัดการคน งบประมาณ วัสดุ/อุปกรณ์ อยู่ในระดับมากที่สุดโดยเฉพาะ อย่างยิ่ง นักเรียนมีความพร้อมและสนใจที่จะเข้ารับการพัฒนาตามโครงการของโรงเรียน มีการแต่งตั้งคณะทำงานรับผิดชอบโครงการอย่างเหมาะสมดังนั้น จึงทำให้ผู้บริหารตัดสินใจดำเนินโครงการอย่างมี หลักการและเหตุผล โดยกำหนดแผนการปฏิบัติตามทิศทางของวัตถุประสงค์ ซึ่งกำหนดไว้อย่างชัดเจนแล้ว
2. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการ (Process Evaluation) ซึ่งเป็นการประเมินการปฏิบัติตามแผนและประเมินในขณะดำเนินงาน เพื่อตรวจสอบกิจกรรมเวลา ทรัพยากรที่ใช้ในโครงการ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การมีส่วนร่วมของบุคลากรต่าง ๆ รวมทั้งหาจุดดี จุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของการดำเนินงานซึ่ง พบว่าจุดดีของการดำเนินงาน คือ คณะทำงานดำเนินงานโดยยึดขั้นตอนตามแผนที่กำหนด และครู/วิทยากร/ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับอาชีพในชุมชน และมีเทคนิคในการฝึกให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามประเพณีและวิถีชีวิต ผู้บริหารมีภาวะผู้นำในการดำเนินงาน และมีการตรวจสอบติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ สำหรับจุดที่ควรพัฒนา คือ ความเหมาะสมของเวลาในการจัดกิจกรรม อาจต้องปรับเวลาให้ยืดหยุ่นและเพียงพอเหมาะสมกับกิจกรรม
3. ผลการประเมินความสำเร็จในการดำเนินงานของโครงการฯ จากการประเมินผลผลิตของโครงการ โดยเปรียบเทียบผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้ โดยรวม บรรลุตามวัตถุประสงค์ มากที่สุด คือ ชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้านร่วมมือในการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตชุมชน อาจเนื่องมาจากการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาช่วยในการ จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน เรื่อง การประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ การทำขนมผิง ขนมเกลียว ทองพับ ทองม้วน เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี ตัวแทนชุมชน มาร่วมอบรมพัฒนาทักษะวิถีชีวิตชุมชน เป็นต้น ประเด็นต่อมา คือ ครูจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนตามธรรมชาติวิชา ชี้ให้เห็นว่าโรงเรียนมีการดำเนินโครงการสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนที่เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี กำหนดโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้สืบค้นหรือศึกษาค้นคว้าคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้จากสื่อต่าง ๆ และแหล่งเรียนรู้ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาสำหรับความสำเร็จในการดำเนินงานด้าน นักเรียนมีทักษะชีวิต โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ เนื่องจากการดำเนินโครงการของโรงเรียน เป็นเพียงระยะ ที่ 3 (สานต่อองค์ความรู้) และจะสิ้นสุดภาคเรียนที่ 1 ปี 2558 ซึ่งโรงเรียนควรที่จะดำเนินโครงการต่อไปในปีการศึกษา 2558 ภาคเรียนที่ 2 เป็นระยะที่ 4 นำสู่วิถีคุณภาพ
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการ ความพึงพอใจของครูวิทยากร
ผู้ปกครอง/ชุมชน นักเรียน และหน่วยงานต่าง ๆ พบว่า ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความพึงพอใจในผลงานโครงการ และการได้รับการสนับสนุนจากโรงเรียน ชุมชน ผู้ปกครอง และหน่วยงานต่าง ๆ ในการเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนรู้และชื่นชมการพัฒนาของนักเรียน ทั้งนี้ เนื่องจากการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนทำให้การดำเนินโครงการมีทิศทางที่ชัดเจน ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจได้ ปฏิบัติได้ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้การดำเนินงานนำไปสู่ความสำเร็จนอกจากนี้หน่วยงานต่าง ๆ ยังมีความพึงพอใจให้สนับสนุนโครงการในโอกาสต่อไป
ข้อเสนอแนะสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
1. โรงเรียนหรือผู้บริหารโครงการอาจต้องปรับปรุงกระบวนการบริหารโดยใช้หลักการบริหาร การเปลี่ยนแปลง และปรับปรุงด้านงบประมาณและการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการอย่างเพียงพอซึ่งอาจใช้วิธีการระดมทรัพยากร
2. โรงเรียนหรือผู้บริหารโครงการควรพิจารณาปรับปรุงด้าน การกำหนดระยะเวลาเข้าค่ายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้สมาชิกค่ายได้รับการพัฒนาและเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ
3. โรงเรียนหรือผู้บริหารโครงการควรคำนึงถึงหลักการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับความแตกต่างของผู้เรียนและการพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
4. ควรนำเสนอสารสนเทศต่อหน่วยงานระดับสูงหรือหน่วยงานต้นสังกัด