รายงานการวิจัยเรื่อง กระบวนการพัฒนาและประเมินคุณภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้
รายวิชา ง33223 การตัดต่อวิดีโอ เรื่อง ตัดต่อวิดีโอไม่ยาก...อย่างที่คิด
ชื่อผู้วิจัย นางศิวพร คล้ายเจ๊ก ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี
ปีที่ดำเนินงาน ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2557 2558
ปีที่จัดทำรายงาน ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
รายงานวิจัย เรื่อง กระบวนการพัฒนาและประเมินคุณภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา ง33223 การตัดต่อวิดีโอ เรื่อง ตัดต่อวิดีโอไม่ยาก...อย่างที่คิด มีวัตถุประสงค์การวิจัย 3 ประการ คือ (1) รายงานกระบวนการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา ง33223 การตัดต่อวิดีโอ เรื่อง ตัดต่อวิดีโอไม่ยาก...อย่างที่คิด (2) การประเมินคุณภาพเชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา ง33223 การตัดต่อวิดีโอ เรื่อง ตัดต่อวิดีโอไม่ยาก...อย่างที่คิด และ (3) การวิเคราะห์ความก้าวหน้าการเรียนรู้ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมจำนวน 15 ราย และใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รวมจำนวน 223 คน จากโรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี ที่เรียน รายวิชา ง33223 การตัดต่อวิดีโอ เรื่อง ตัดต่อวิดีโอไม่ยาก...อย่างที่คิด ในช่วงปีการศึกษา 2557 2558
เครื่องมือการวิจัยมี 2 ลักษณะ คือ เครื่องมือการวิจัยลักษณะที่เป็นแบบสอบถามการประเมินคุณภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ และเครื่องมือวิจัยที่เป็นแบบทดสอบเลือกตอบ แบบฝึกปฏิบัติ และผลการเรียนรายวิชา ง33223 การตัดต่อวิดีโอ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ มี 3 กลุ่ม คือ
1. สถิติสำหรับวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเครื่องมือการวิจัย มีดังนี้
1.1 ค่าความยากง่ายของข้อสอบ (p) ควรมีค่าอยู่ระหว่าง 0.50 0.70 โดยได้กำหนดใช้ค่าสัดส่วนระหว่างค่า R1: R2 เป็น 40 : 40
สูตร 1 P1 =
สูตร 2 P2 =
1.2 ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ (r) ควรมีค่าอยู่ระหว่าง 0.25-0.35
สูตร r =
1.3 ค่าความแปรปรวนของแบบทดสอบ (2) ทั้งฉบับ
สูตร 2 =
1.4 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ (rtt) ทั้งฉบับ ควรมีค่ามากกว่า 0.70
ใช้สูตรที่ 20 ของ Kuder Richardson
คือ KR.20; (rtt) =
1.5 ค่าคะแนนเฉลี่ย จากการวิเคราะห์
สูตร =
2. สถิติสำหรับวิเคราะห์ประสิทธิภาพเอกสารการสอน (E) ใช้เกณฑ์กำหนดเป็น E1/ E2 เป็น70/70
สูตร 1 E1 =
สูตร 2 E2 =
3. สถิติสำหรับวิเคราะห์ความก้าวหน้าการเรียนรู้ ใช้ สถิติ t test สำหรับทดสอบค่าความแตกต่าง ระหว่างคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนรู้กับหลังเรียนรู้
สูตร t =
และเกณฑ์การตัดสินผลการเรียนของสถานศึกษา
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล มี 3 กลุ่ม คือ (1) ประสิทธิภาพแบบทดสอบระหว่างการเรียนรู้มีค่าความยากง่ายเท่ากับ 0.72 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.58 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.59 (2) ประสิทธิภาพแบบทดสอบหลังการเรียนรู้มีค่าความยากง่ายเท่ากับ 0.59 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.45 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 (3) ประสิทธิภาพเอกสารประกอบการสอนที่ 71.27 / 71.46 และ 73.55 / 74.69 ประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีค่าร้อยละเฉลี่ยระดับความคิดเห็นรวมทุกส่วนเนื้อหาเท่ากับ 94.54 มีค่าฐานนิยมระดับความคิดเห็นรวมทุกส่วนเนื้อหาเท่ากับ มากที่สุด (4) ความก้าวหน้าการเรียนรู้ที่มีผลจากอัตราส่วนระหว่างคะแนนทดสอบก่อนการเรียนรู้ต่อคะแนนทดสอบหลังการเรียนรู้เป็น 39.70 / 70.99 และ 40.27 / 74.09
ความก้าวหน้าการเรียนรู้ที่มีผลจากค่าความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนการเรียนรู้และคะแนนหลังการเรียนรู้กับ 1.6569 / 34.57 และ 1.6611 / 35.30 ความก้าวหน้าการเรียนรู้ที่มีผลจากคะแนนแบบฝึกปฏิบัติที่มีผลคะแนนร้อยละ 70 ขึ้นไป เป็นจำนวนนักเรียนร้อยละ 45.29