บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75
เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง
การแก้โจทย์ปัญหา ที่พัฒนาขึ้น เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนวัดใหม่ประชุมชนมิตรภาพที่ 76 อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 จำนวน 15 คน ซึ่งได้จาก
การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา จำนวน 7 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้
จำนวน 17 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ จำนวน 1 ชุด และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา แบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 16 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการทดสอบแบบที (t test แบบ Dependent)
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.71/77.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา มีค่าเท่ากับ 0.6951 หรือคิดเป็นร้อยละ 69.51
3. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X-Bar= 4.58)
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 10 ข้อ อยู่ในระดับมาก 6 ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ข้อที่ 1 แบบฝึกเสริมทักษะสวยงามดึงดูดความสนใจ อยากรู้ อยากเรียน ( X-Bar = 4.87) ข้อที่ 11 การเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่ายการเรียน ( X-Bar= 4.80) และข้อที่ 15 การเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะช่วยให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ( X-Bar = 4.73)