ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น
ในการพัฒนาทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางราตรี ปราบพล ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล 2 สามัคคีวัฒนา กองการศึกษา เทศบาลเมืองยโสธร
จังหวัดยโสธร
ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์(1)เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4(2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น ในการพัฒนาทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (3) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น ในการพัฒนาทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น ในการพัฒนาทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (4.1)เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น ในการพัฒนาทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพ(E1/E2) กำหนดเกณฑ์ 80/80(4.2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน (4.3) เพื่อศึกษาเจตคติที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 จำนวนจาก 2 ห้องเรียนภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2558โรงเรียนเทศบาล 2 สามัคคีวัฒนา กองการศึกษา เทศบาลเมืองยโสธร ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)โดยการจับสลากห้องเรียน 2 ครั้งได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4/2 เป็นห้องเรียนที่นำการทดลองตามเครื่องมือเพื่อหาความเป็นไปได้และความชัดเจนของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ (Try -out)และอีก 1 ห้องเรียนได้แก่ชั้นประถมศึกษาปีที่4/1 ในการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลตามเครื่องมือและเครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น ในการพัฒนาทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เครื่องมือการประเมิน คือ 1) แบบประเมินความคิดเห็นของครูที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 2) เครื่องมือประเมินนักเรียน ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มและแบบประเมินเจตคติของนักเรียนต่อการเรียนภาษาอังกฤษการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) และข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานเอกสารและ
แนวคิดทฤษฎีต่างๆ จากข้อมูลดังกล่าวที่นำมาใช้กำหนดนิยาม ความสามารถ พฤติกรรมบ่งชี้ และแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น ในการพัฒนาทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ได้ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น ในการพัฒนาทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้น warm up (ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน) ขั้นที่ 2 ขั้น listening (ขั้นการฟัง) ขั้นที่ 3 ขั้น speaking (ขั้นการพูด) ขั้นที่ 4 reading (ขั้นการพูด) ขั้นที่ 5 ขั้น writing (ขั้นการเขียน) 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง 6) ระบบสนับสนุน
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น ในการพัฒนาทักษะ
การฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ผลการตรวจสอบเพื่อยืนยันความเหมาะสมของโครงร่างของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่น ในการพัฒนาทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน พิจารณาได้ผลการประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และค่าดัชนีความสอดคล้องโดยรวม ได้ค่าเท่ากับ 0.86 ซึ่งเป็นค่าแสดงหลักฐานความเหมาะสมและความสอดคล้องที่มีค่าสูง สามารถนำไปใช้ในการทดลองได้ต่อไปผลการตรวจสอบเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่นในการพัฒนาทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ความคิดเห็นของครูตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่นในการพัฒนาทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลประเมินโดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 2.70, S.D. = 0.47) แสดงว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่นในการพัฒนาทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อไป
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่นในการพัฒนาทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่นในการพัฒนาทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่นในการพัฒนาทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้ผลดังนี้
4.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้ข้อมูลในท้องถิ่นในการพัฒนาทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.38/83.25
4.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.3 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 2.83, S.D = 0.47)