ชื่อเรื่อง การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning)
ด้วยกระบวนการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม.ของโรงเรียนเทศบาลมาบตาพุด
ผู้วิจัย นายสมควร ทองเรือง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนเทศบาลมาบตาพุด กองการศึกษา เทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง
ปีที่วิจัย 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) ของครูปฐมวัย โรงเรียนเทศบาลมาบตาพุด กองการศึกษา เทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยองด้วยกระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ เป็นพนักงานครูเทศบาลในโรงเรียนเทศบาลมาบตาพุด กองการศึกษา เทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง รวมทั้งสิ้น จำนวน 14 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอนในอนุบาล 1 จำนวน 4 คน ครูผู้สอนในอนุบาล 2 จำนวน 4 คน และครูผู้สอนในอนุบาล 3 จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 5
ประเภท ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ จำนวน 1 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ แบบประเมินแผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 1 ฉบับ แบบบันทึกผลการนิเทศ จำนวน 1 ฉบับ และ แบบประเมินพฤติกรรมการจัดประสบการณ์ จำนวน 1 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ จากแบบทดสอบ ก่อน และหลังการการประชุมเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และร้อยละ ( % ) ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสังเกต การสัมภาษณ์ และแบบประเมิน ใช้วิธีการตีความสร้างข้อสรุปโดยใช้หลักตรรกวิทยาเชิงอุปนัย ตามรูปแบบ ความหมาย ความสัมพันธ์ และผลกระทบของปรากฏการณ์ที่รับรู้และที่เกิดขึ้น จากนั้นจึงวิเคราะห์ตีความสรุปและตรวจสอบข้อมูลโดยที่ผู้ร่วมวิจัยเป็นผู้ตรวจสอบข้อมูลด้วย แล้วจึงรายงานผลในลักษณะการบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า
การสะท้อนผลการพัฒนาในวงจรที่ 1 ก่อนดำเนินการพัฒนาครูในวงจรที่ 1 พบว่าผู้ร่วมวิจัย ไม่มีการวิเคราะห์ศักยภาพของนักเรียนและไม่เข้าใจนักเรียนเป็นรายบุคคล ไม่จัดทำแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) ไม่ใช้สื่อการเรียนการสอนให้นักเรียนเกิดทักษะ หลังจากการพัฒนาครูด้วยการอบรมประชุมเชิงปฏิบัติการ จากการสัมภาษณ์ครู การสัมภาษณ์นักเรียน จากการสังเกตพฤติกรรมครูผู้รับการนิเทศ และแบบประเมินการจัดประสบการณ์โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) สามารถพัฒนาครูผู้เข้าร่วมวิจัยทั้ง 14 คน ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) ผลการทดสอบ ก่อน การประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้ร่วมวิจัยมีคะแนนเฉลี่ย 13.14 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 65.71 แสดงว่าผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับปานกลาง และผลการทดสอบหลัง การประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้ร่วมวิจัยได้คะแนนเฉลี่ย 17.07 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85.35 แสดงให้เห็นว่า ผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) ในระดับ มาก ครูมีความสามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) และสามารถนำแผนการจัดประสบการณ์ไปใช้ในการจัดประสบการณ์โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) ในชั้นเรียนได้ ส่วนการดำเนินการพัฒนาการจัดประสบการณ์ โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) ของครูด้วยการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม สามารถพัฒนาผู้ร่วมวิจัยทั้ง 14 คน ให้มีความรู้และสามารถจัดประสบการณ์โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) ได้ผลในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากผู้ร่วมวิจัยบางคนยังมีความเข้าใจและจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) ได้ไม่ดีเท่าที่ควร กลุ่มผู้ร่วมวิจัยได้ประชุมปรึกษาหารือและตกลงร่วมกันให้ดำเนินการพัฒนาผู้ร่วมวิจัยด้วยกิจกรรมการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมอีกต่อไปในวงจรที่2 ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยได้ประชุม ปรึกษาหารือ และมีมติให้ดำเนินการพัฒนาผู้ร่วมวิจัย ด้วยกิจกรรมการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมอีกต่อไปในวงจรที่ 2 ส่วนการดำเนินการพัฒนาในวงจรที่ 2 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 ถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 โดยใช้กลยุทธ์การพัฒนาด้วยกิจกรรมการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม ซึ่งได้นำข้อเสนอแนะในวงจรที่ 1 มาปรับปรุงพัฒนา ในวงจรที่ 2 คือให้ครูผู้ร่วมวิจัยโดยการอบรมประชุมเชิงปฏิบัติการ ให้แต่ละคนเขียนแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain- Based Learning) และปฏิบัติการสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) แล้วทำการเก็บข้อมูล โดยการสังเกตพฤติกรรมของครูผู้รับการนิเทศการสัมภาษณ์ และแบบประเมินการจัดประสบการณ์โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) ผลปรากฏว่าผู้ร่วมวิจัยทั้ง 14 คน สามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์ และจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) ได้เป็นอย่างดี สรุปได้ว่าการดำเนินการพัฒนาผู้ร่วมวิจัย ด้วยกิจกรรมการอบรมประชุมเชิงปฏิบัติการและนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม ทำให้ผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องจัดการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) สามารถวิเคราะห์ศักยภาพของนักเรียนและเข้าใจนักเรียนเป็นรายบุคคล สามารถจัดทำแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) ได้ และสามารถใช้สื่อธรรมชาติให้นักเรียนเกิดทักษะได้เป็นอย่างดี